ประวัติสุนัขสายพันธ์เซนต์เบอร์นาร์ด
เซนต์เบอร์นาร์ด นั้เป็นสุนัขที่มีขนาดใหญ่มากมีขนหนา มีน้ำหนักเฉลี่ยอยู่ที่ 64-120 กิโลกรัม หรืออาจจะมากกว่านั้น มีความสูงจากหัวไหล่มายังพื้น 70 – 90 เซนติเมตร ขนมีลักษณะยาวเรียบหน้า หยาบ และจะหนามากบริเวณรอบๆคอลงมาที่ขา ขนของเขาจะมีสีน้ำตาลแดง สีเทา สะดำ และจะมีสีดำที่เบ้าตาทั้งสองข้าง และบริเวณหู หางมีความยาวและตก นัยต์ตาจะมีสีดำ สีฟ้า และสีน้ำตาล
มีนิสัยร่าเริง ใจดี จนได้รับเรียกว่านักบุญ สามารถที่จะหาคนที่ถูกหิมะหรือว่าหายในพายุหิมะได้ โดยจะนำกระป๋องผูกที่คอมันแล้วเอาไปให้คนที่มันพบกินน้ำ และขอความช่วยเหลือจากคนอื่นๆ เป็นสุนัขที่มีจมูกไว เมื่อก่อนนั้นสุนัขพันธุ์นี้มีความอ่อนแอ มีโรคภัยใข้เจ็บได้ง่ายไม่เหมือนสมัยปัจจุบัน เพราะว่ามีการผสมพันธุ์และปรับปรุงให้มีความเด่นมากขึ้นในปี 1865 นั้นเอง
ในเมื่อก่อนนั้น เซนต์เบอร์นาร์ด มีประวัติศาสตรที่อยู่รวมกับสุนัข เกรทเทอร์ สวิสส์ เมาน์เทนด๊อก นำไปใช้ในงานในไรในฟาร์มต่าง ไว้ต้อนเกะหรือว่าสัตว์อื่นๆ สามารถที่จะใช้ช่วยในการล่าสัตว์และยังช่วยผู้ประสบภัยจากหิมะได้ด้วย สุนัขพันธุ์ถือได้ว่าสืบสายพันธุ์มาจาก molosser โดยการมาในเทือกเขาแอลป์จากชาวโรมันโบราณและเซนต์เบอร์นาร์เป็นที่ยอมรับในระดับสากลว่าเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ของ Molossoid
มีประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่ว่า เซนต์เบอร์นาร์ดได้เดินทางมากับพระนักบวชที่ Great St Bernard Pass ในปี 1707 และได้มีภาพวากจิตกรที่ฝาพนังไว้เป็นหลังฐานในตอนนั้น
สุนัขเซนต์เบอร์นาร์ดที่มีชื่อเสียงมากที่สุด เพราะว่าได้ช่วยเหลือชีวิตจากผู้ประสบภัยต่างๆไว้มาก สุนัขตัวนี้มีชื่อว่า แบร์รี่ ได้ช่วยเหลือคนที่ประสบภัยได้ว่า 100 ชีวิต มีอนุสาวรีย์ แบร์รี่ ตั้งอยู่ที่ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ในกรุงเบิร์น
สำหรับสายพันธุ์ดั้งเดิมของ เซนต์เบอร์นาร์ด นั้นมีความแตกต่างจากปัจจุบันมากเนื่องจากมีการผสมข้ามสายพันธุ์ ได้มีการก่อตั้งชมรมผู้เลี้ยงสุนันเซนต์เบอร์นาร์ด ในสวิช เมื่อ 15 มีนาคม 1884
สำหรับชื่อที่ใช้ตั้งนั้น ในปี 1810 ชายอังกฤษได้นำสุนัขในสถานที่พักคนเดินทางเข้าประเทศ เสริมพันธ์มาสตีฟ เดิมเป็นสายเหลือที่บอกว่าเป็นสุนัขของเทพเจ้ามีความศักดิ์สิทธ์ ในปี 1828 ให้มีการเรียกชื่อว่า อัลเพลด็อก เมื่อก่อนั้นเป็นสุนัขที่เป็นขนสั้น ต่อมามีการพัฒนาสายพันธุ์ให้ดีขึ้น และได้ถูกเรียกว่า เซอร์เบอร์นาร์ด
สุนัขพันธุ์นี้มีรูปร่างใหญ่กินจุมากเลยทีเดียว แต่มีนิสัยที่เข้ากับเด็กได้ดีขี้เล่น แต่มีอายุเพียงประมาณ 10 ปีเท่านั้น
ลักษณะนิสัยของสุนัขสายพันธ์เซนต์เบอร์นาร์ด
ลักษณะนิสัยของเซ็นต์เบอร์นาร์ด ได้มีการถ่ายทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นและถือเป็นลักษณะเด่นของสายพันธุ์ นั่นคือ ความเป็นมิตร ความภักดี รักสนุก อ่อนโยน สง่างาม ซื่อสัตย์และนุ่มนวล โดยเฉพาะกับเด็กๆ สุนัขเซ็นต์เบอร์นาร์ดมีความฉลาดและไว้ใจได้
บุคลิคของเซ็นต์เบอร์นาร์ดมีตั้งแต่เงียบขรึมและอยู่ไม่สุข เป็นสายพันธุ์ที่ชอบการฝึกฝน หากได้รับการพาเข้าสังคมตั้งแต่เด็กจะมีประสบการณ์ที่ดี มีลักษณะทางอารมณ์ที่ไม่ตื่นกลัว หวาดระแวง สุนัขพันธุ์นี้ไม่ใช่สุนัขอารักขา ผู้นำไปเลี้ยงจะคาดหวังให้เข้าปกป้องคุ้มครองทรัพย์สินมิได้ เซ็นต์เบอร์นาร์ดบางตัวมนุษยสัมพันธ์ดี จนอาจพาขโมยเข้าบ้านได้ แต่สัญชาตญาณการเห่าเพื่อระวังภัยยังมีอยู่ เมื่อเซ็นต์เบอร์นาร์ดเห่าเจ้าของเพื่อให้เจ้าของรู้ว่ามีความผิดปกติภายในบ้าน หากมีแขกของเจ้าของบ้าน หลังจากเห่าทักทายสักพักสุนัขก็พร้อมจะเป็นมิตรกับแขก และยอมให้ลูบหัวลูบหางทักทายได้
ลูกสุนัขเซ็นต์เบอร์นาร์ดเมื่อยังเล็ก (แต่ตัวโต) ก็ยังคงซุกซนเช่นหมาเด็กทั่วไป แต่ความซุกซนจะลดลง เมื่อโตขึ้น เนื่องจากสรีระที่ใหญ่โตขึ้น การเคลื่อนไหวไม่คล่องตัว หลังจากอายุครบ 24 เดือน กว่า 70 เปอร์เซ็นต์ในหนึ่งวัน ของเซ็นต์เบอร์นาร์ดจะใช้เวลาในการนอน เจ้าของจึงต้องกระตุ้นให้เค้าลุกออกไปเดินเล่นบ้าง เพื่อสุขภาพที่ดี
อาหารและการเลี้ยงดู สุนัข เซนต์เบอร์นาร์ด
และด้วยขนาดที่ใหญ่โตมโหฬารของ สุนัข เซนต์เบอร์นาร์ด เขาจึงเป็นสุนัขที่กินอาหารมาก เรียกว่า ถ้าคิดจะเลี้ยงล่ะก็ ต้องเลี้ยงให้สุด ทั้งเรื่องอาหาร ความเป็นอยู่ กินก็ต้องดีไม่อย่างนั้น จะมีปัญหาเรื่องไขข้อ เรื่องสุขภาพ นอนก็ต้องนอนห้องแอร์เพราะขนเยอะ รายละเอียดยุบยิบแบบนี้ ใครที่คิดจะเลี้ยงเจ้าสุนัขพันธุ์นี้นอกจากจะมีความพิศวาทเป็นทุนเดิมแล้ว ต้องดูด้วยว่าเราสามารถรับภาระอันใหญ่หลวงและสามารถเลี้ยงเขาให้ดีได้หรือไม่ จะได้ไม่เป็นปัญหาตามมาภายหลัง
โรคและการป้องกัน
โรคข้อสะโพกเสื่อม โรคนี้จะเป็นปัญหาที่พบกันค่อนข้างมาก อาการแรกเริ่ม สุนัข จะมีอาการเจ็บปวดขาหลังเวลาเดิน จึงไม่ชอบขยับเขยื้อน อาการจะมากขึ้นจนสุนัขไม่ยอมลุกขึ้นมาเดินอีกเลย ลักษณะจะแตกต่างกับอาการเจ็บขาธรรมดา คือ ถ้าสุนัขเจ็บขาธรรมดาจะเจ็บข้าง เดียวแต่ถ้าเป็นโรคข้อสะโพกเสื่อมจะเจ็บทั้ง 2 ข้าง สาเหตุอาจเกิดจากได้จากสายพันธุ์ และพันธุกรรม ซึ่งในส่วนของพันธุกรรม ก็คือความเสี่ยงต่อโรคที่สุนัขมีอยู่เป็นทุนเดิม ประกอบกับความไม่รู้ของผู้เลี้ยง อาหารที่ให้สุนัขกินจึงไปเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอย่างไม่รู้ตัว ดังนั้น ผู้เลี้ยงจึงต้องดูแลเรื่องอาหาร ปรับความสมดุลทางโภชนาการ ให้กินอาหารที่หลากหลาย สุนัขที่โตเต็มที่แล้วควรให้อาหารแค่วันละมื้อ
โรคลมบ้าหมู จะทำให้สุนัขชักบ่อยๆ และควบคุมการทรงตัวไม่ได้ การแก้ไขเบื้องต้น ควรหาสถานที่ให้สุนัขอยู่อย่างสงบในห้องที่มืดๆ จนกว่าอาการชักจะทุเลาลง ในระหว่างที่สุนัขชักอย่าได้เข้าไปจับตัวเด็ดขาด เพราะมันอาจหันมากัดได้ ทั้งนี้ ยารักษาโรคลมบ้าหมูอาจช่วยลดอาการชักให้น้อยลงได้ แต่ควรปรึกษาการใช้ยาจากสัตวแพทย์ สำหรับสาเหตุของโรคชักเกิดจากพยาธิในลำไส้เป็นตัวการสำคัญ
โรคหัวใจ มีสาเหตุมาจากความผิดปกติในโครงสร้างและหน้าที่ของหัวใจ หรือความผิดปกติของหัวใจตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งอาการของสุนัขที่มีปัญหาโรคหัวใจจะมีอาการซึมเศร้า น้ำหนักลด เบื่ออาหาร หรือกินอาหารได้น้อยลง ท้องกาง ไอแห้งๆ และมักไอเวลากลางคืน มีอาการเหนื่อยง่าย อ่อนแรง หายใจลำบาก เหงือกซีด เป็นลมหมดสติ ทั้งนี้ สุนัขที่เป็นโรคหัวใจ สามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างปกติ แต่จะต้องดูแลเรื่องการให้ยาอย่างใกล้ชิด ควรงดการออกกำลังกายหรือกิจกรรมใดๆ ที่ทำให้สัตว์เหนื่อย เนื่องจากหัวใจต้องทำงานหนักเพิ่มขึ้น และสิ่งสำคัญคือ ระวังในเรื่องการให้อาหารและน้ำที่มีส่วนผสมของเกลือ ต้องมีปริมาณเกลือต่ำ
อย่างไรก็ตาม โรคหัวใจบางชนิดสามารถป้องกันได้อย่างเหมาะสม เช่น ฉีดวัคซีนโรคพยาธิหนอนหัวใจอย่างสม่ำเสมอ และไม่ขยายพันธุ์สุนัขที่เป็นโรคหัวใจ เนื่องจากโรคหัวใจบางชนิดอาจถ่ายทอดทางกรรม พันธุ์ได้ และหากสุนัขแม่พันธุ์เป็นโรคหัวใจ จะมีความเสี่ยงในระหว่างการคลอดลูกด้วย นอกจากนี้การดูแลรักษาช่องปากในสุนัขก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะหากสุนัขมีหินปูนมาก หรือมีการอักเสบในช่องปากอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคติดเชื้อในหัวใจได้
โรคต้อกระจก มักเกิดกับ สุนัข ที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป โดยจะมองเห็นแก้วตามีลักษณะขุ่นขาว ซึ่งสุนัขยังพอมองเห็นได้ แต่ถ้าแก้วตาขุ่นเพิ่มมากขึ้นก็จะทำให้มองไม่เห็น เนื่องจากแสงไม่สามารถผ่านเข้าไปยังจอรับภาพได้ ทั้งนี้สาเหตุเป็นเพราะโรคเบาหวาน หรือได้รับบาดเจ็บ มีแผลที่ตา อย่างไรก็ตาม โรคต้อกระจกอาจจะพบได้ในสัตว์อายุน้อยตั้งแต่เกิดจนถึง 3 ปี เนื่องจากเป็นมาตั้งแต่เกิด สำหรับการรักษา ควรรีบพาสุนัขของคุณไปพบสัตวแพทย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น