ลักษณะทั่วไป
พ็อมโบรค เวล์ช คอร์กี้มีลำตัวขนาดกลาง ลำตัวล่ำ ช่วงขาสั้น ส่วนหัวคล้ายกับสุนัขจิ้งจอก ใบหูตั้งชัน มีขนทั้งสีแดง สีชา น้ำตาลอ่อน น้ำตาลแดง และสีดำ หางสั้น ชอบอยู่ในพื้นที่เล็กๆแคบๆ จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงไว้ในบ้าน นอกจากนี้ยังเป็นขวัญใจในการประกวดสุนัขและการแข่งขันกีฬาสุนัขอีกด้วย เดิมทีพ็อมโบรค เวล์ช คอร์กี้เป็นสุนัขเลี้ยงแกะขนาดเล็กเป็นสุนัขเฝ้ายามที่ดี มีอยู่ด้วยกัน 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์คาร์ดิแกน หางยาว ปานกลาง และพันธุ์เพ็มโบรค หางสั้น ตัวจะสั้นกว่า กระดูกขาเล็กกว่า
ความเป็นมา
สุนัขสายคอร์กี้สายพันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในรัฐเพ็มโบรคเชียร์ แคล้นเวล์ส ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นสายพันธุ์เก่าแก่เมื่อ 3,000 ปีก่อน ในช่วงศตวรรษที่ 12 เริ่มด้วยตอนแรกเรียกสุนัขพันธุ์นี้ว่า เวลส์ เคอร์ (Welsh Cur) กระทั่งถึงศตวรรษที่ 19 จึงเปลี่ยนมาเรียกเป็น เวลส์ คอร์กี้ (Welsh Corgi) จนถึงปัจจุบัน โดยในปีค.ศ. 1107 ช่างทอผ้าชาวเฟรมมิช ซึ่งมีรกรากเดิมอาศัยอยู่ในประเทศเบลเยี่ยม ได้นำบรรพบุรุษสายตรงของพ็อมโบรค เวล์ช คอร์กี้ข้ามช่องแคบระหว่างเกาะอังกฤษกับประเทศฝรั่งเศส เข้ามายังแคว้นเวล์ส สุนัขสายพันธุ์นี้ เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์หลายพันธุ์คือ คีชอน ,ปอมเมอเรเนียน ซามอยด์ นอร์วีเจียน เอลค์ฮาวนด์ และ ฟินนิช สปิตซ์
ลักษณะนิสัย
พ็อมโบรค เวล์ช คอร์กี้ดูภายนอกเหมือนห้าวหาญเด็ดเดี่ยว แต่จริงๆ แล้วใจดีมากๆ เชื่อฟังเจ้านายและฝึกง่าย สุภาพอ่อนโยน อยากรู้อยากเห็น มีความกล้าหาญเป็นสุนัขเฝ้ายามที่ดี แต่ไม่ก้าวร้าว ไม่ชอบเห่า พ็อมโบรค เวล์ช คอร์กี้ เป็นมิตรกับคนแปลกหน้า และน้องหมาตัวอื่นๆ ติดเจ้าของ ไม่ว่าจะเจ้าของจะไปไหนก็อยากไปด้วย
การดูแล
พ็อมโบรค เวล์ช คอร์กี้เดิมเป็นสุนัขที่เติบโตในฟาร์ม เขาจึงต้องการการออกกำลังกายเป็นประจำ เช่นเดียวกันกับการแปรงขนเพื่อให้ขนนุ่มสวยเป็นประจำทุกวัน ควรอาบน้ำ 2 ครั้งต่อเดือน ไม่ควรอาบบ่อยเพราะจะทำให้มีปัญหาเรื่องผิวหนัง นอกจากนี้ ควรพาเข้าสังคม ทำความรู้จักคนแปลกหน้า น้องหมาตัวอื่นๆ เพื่อไม่ให้พวกเขารู้สึกหวั่นกลัว เขินอาย ไม่ไว้ใจใคร จนกลายเป็นน้องหมาที่ก้าวร้าวในเวลาต่อมา
มาตรฐานสายพันธุ์
มาตรฐานสายพันธุ์
ขนาด | ส่วนสูง 10.5–12.5 นิ้ว น้ำหนักควรเหมาะกับขนาด โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 25-38 ปอนด์ |
ศรีษะ | ลักษณะศีรษะคล้ายกับสุนัขจิ้งจอก รูปกระโหลกระหว่างหูทั้ง 2 ข้างกว้างและแบน บริเวณส่วนโหนกแก้มค่อนข้างกลมมน แต่ไม่สูงไปถึงตำแหน่งใต้ตา ระยะห่างระหว่างตำแหน่งด้านศีรษะถึงตำแหน่งที่อยู่กึ่งกลางระหว่างช่วงโค้งสันจมูกของตา 2 ข้างจะมีมากกว่าระยะห่างจากตำแหน่งช่วงโค้งสันจมูกของตา 2 ข้างถึงปลายจมูก |
ฟัน | มีลักษณ์เป็นฟันกรรไกร คือด้านในฟันบนสัมผัสกับด้านนอกของฟันล่าง |
ปาก | ริมฝีปากดำสนิท กระชับ |
ตา | ดวงตารูปวงรีเข้มสดใส ไม่กลมแต่ดำสนิท |
หู | ขนาดปานกลาง ตั้งตรง บริเวณยอดสามเหลี่ยมของใบหูต้องโค้งมน |
จมูก | ดำสนิททั้งจมูก |
คอ | ลำคอมีขนาดยาวปานกลาง เพื่อเราสมดุลของร่างกาย และโค้งรับกับช่วงไหล่อย่างดี |
อก | ช่วงอกตั้งตรง ไม่สูงหรือต่ำไปจากส่วนคอ |
ลำตัว | ไล่ตั้งแต่เกราะซี่โครงช่วงอกลงไปถึงโคนหาง ลำตัวมีลักษณะเป็นรูปไข่วงรี อกลึกอยู่ระหว่าง 2 ขาหน้า ช่วงตัวที่อยู่ในระดับต่ำมากนี้เองที่ช่วยให้พวกเขาเคลื่อนไหวได้อย่างมีอิสระ แล้วหางมองจากด้านบน ช่วงท้ายของลำตัวจะคล้ายสิงโต เพียงแต่เป็นสิ่งโตที่ย่อขนาดให้เล็กลงนั่นเอง |
เอว | |
ขาหน้า | ขาสั้น ช่วงไหล่จะเอนเข้าไปด้านในมากกว่าช่วงข้อเท้า จะสังเกตเห็นว่าขาไม่ตั้งตรงนักเวลายืน แต่พอมองด้านข้างจะเห็นว่าตรงขึ้นมามากขึ้นกว่ามองจากทางด้านหน้า |
ขาหลัง | |
หาง | หางต้องสั้นโดยไม่ได้รับการตัดแต่ง อันที่จริงแล้วพ็อมโบรค เวล์ช คอร์กี้มีหางบ็อบสั้นหยักศกอยู่แล้วโดยธรรมชาติ แต่ยิ่งสั้นยิ่งดีและได้รับการยอมรับ |
ขน | มีความยาวปานกลาง หนา แต่จะยาวและหนามากบริเวณรอบๆคอ อก ไหล่ ด้านหลังของขาหน้า และใต้ท้อง ส่วนบริเวณลำตัวขนจะสั้นแบนราบขนาบกับลำตัว อย่างไรก็ตามในช่วงฤดูหนาวจะมีขนอีกชั้นขึ้นหนาใต้ขนชั้นบนที่ยาวกว่าเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย |
สีขน | สีขนของพ็อมโบรค เวล์ช คอร์กี้แท้ๆ ดูได้จากขนชั้นบน ซึ่งมีตั้งแต่ขนสีแดง สีน้ำตาลเหลือง น้ำตาลแดง สีขา ไปจนถึงสีดำ แต่บางตัวเอาจะไม่มีขนสีขาวแซมอย่างที่ปกติพวกเขาจะมี ซึ่งตำแหน่งที่ขนสีขาวแซมขึ้นมาจะอยู่บริเวณ ขา คอ ใต้ท้อง และบริเวณสันจมูกระหว่างตาทั้ง 2 ข้าง |
ผู้เลี้ยงที่เหมาะสม
ผู้ที่เหมาะสมจะเลี้ยง พ็อมโบรค เวล์ช คอร์กี้ จะต้องเป็นผู้ที่มีเวลาพาเขาไปออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ดูแลสุขพภาพขน มีเวลาเล่น ทำกิจกรรมกับพวกเขา ไม่ปล่อยให้อยู่เพียงลำพัง เนื่องจากพวกเขาเป็นน้องหมาที่ต้องการความรัก และ การเอาใจใส่จากเจ้าของค่อนข้างสูง
ข้อควรจำ
มักมีปัญหาเกี่ยวกับสายตา และโรคจอรับภาพเสื่อมเฉียบพลัน นอกจากนี้ยังมีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง เนื่องจากพวกเขามีลำตัวที่ค่อนข้างยาว ทำให้เกิดการกระทบกระเทือนขณะเคลื่อนไหว จึงไม่ควรปล่อยให้พวกเขาอ้วน เพราะจะส่งผลทั้งต่อการรับน้ำหนักของกระดูสันหลัง และโรคต่างๆ ที่จะตามมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น