ประวัติสุนัขสายพันธ์ไซบีเรียน ฮัสกี้
ประวัติไซบีเรียนฮัสกี้ มีถิ่นกำเนิดจากทางตะวันออกเฉียงเหนือของไซบีเรียอยู่ในรัสเซีย เป็นสุนัขที่มีความอดทนต่อสภาพอากาศที่หนาวจัด เป็นสุนัขที่มีความสำคัญในการดำรงชีพและวัฒนธรรมของคนแทบนั้นมีการอาศัยซึ่งกันและกันมาตลอดระยะเวลาอันยาวนาน ชนเผ่าที่เริ่มแรกที่ได้นำมาใช้ประโยชน์คือ เผ่าชุคชิ เนื่องจากเป็นสุนัขที่ไว้ลากเลื่อนเพื่อการเดินทางและเพื่อขนส่งสิ้นค้าต่าง สืบเชื้อสายมาจากสุนัขเอสกิโมซึ่งเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่เก่าแก่ที่สุด ซึ่งมีมากว่า 3000 ปีเลยทีเดียว
มีการเล่ากันว่าช่วงหนึ่งของชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในไซบีเรียนี้ได้ถูกทางกองทัพของ Czarist จากสหภาพโซเวียต ขับไล่ชนเผ่าที่อยู่บริเวณนี้หมดไปแต่ด้วยกองกำลังในขณะนั้นไม่สามารถที่จะสู้ชนเผ่าพื้นเมืองในที่นี้ได้เนื่องบริเวณดังกว่านั้นมีความหนาวมาก เต็มไปด้วยหิมะ การเคลื่อนไหวด้วยการเดินนั้นลำบากมาก แต่ทางชนเผ่าได้ใช้ไซบีเรียนในการทำเป็นรถอาวุธชนิดหนึ่งเนื่องจากความเร็วของลากเลื่อนที่ใช้ต่อสู่ทำให้ได้รับชัยชนะ เนื่องจากความไวและความอดทนในการวิ่งที่ยอดเยี่ยม
ในปี 1909 ได้นำไปแข่งขันที่อลาสก้าโดย John Johnson เป็นทีมแรกที่ได้ส่งไซบีเรียนเข้าไปแข่งขันสุนัขลากเลื่อนครั้งนี้แล้วสามารถที่จะรับชนะได้ จึงทำให้เช้าไซบีเรียนมีชื่อเสียงที่โด่งดังมาก และในระยะต่อในปี 1925 มาได้เกิดโรคคอตีบระบาดใน อลาสก้าทำให้ขาดแคนในการขนส่งผู้ป่วย ดังนั้นสุนัขไซบีเรียนใช้ในการช่วยรักษาในช่วงนั้นได้เป็นอย่างดีและทำให้มีชื่อเสียงที่มากขึ้นไปยังประเทศอเมริกา ได้มีการก่อตั้งสมาคมคนเลี้ยงสุนัขที่อเมริกาในปี 1938
ในการแข่งขันลากเลื่อนในระยะต่อได้มีชาวอังกฤษได้ส่งทีมเข้ามาแข่งและในตอนนั้นเองได้เห็นความสามารถของสุนัขไซบีเรียนจึงได้นำไปกลับไปยังประเทศอังกฤษและได้รับความนิยมในการเลี้ยง
ในปี 1979 นาย Mr D. George ได้นำเอาไซบีเรียนไปที่ประเทศออสเตรียจากประเทศอังกฤษจนสามารถที่จะขนายพันธุ์ และได้รับการยอมรับทางที่นั้นเป็นอย่างมาก
จนในปัจจุบันสุนัขไซบีเรียนนั้นได้มีการเพาะเลี้ยงในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งยอมรับในเรื่องความอดทนความสง่างามของสุนัขสายพันธุ์มาก เลี้ยงเป็นสุนัขสำหรับครอบครั้วและมีราคาที่สูงมาก เพราะว่าสามารถที่จะเลี้ยงไว้เป็นเพื่อนได้ดีถึงจะไม่ได้ใช้งานลาดเลื่อนเหมือนเดิมแล้วก็ตาม และยังมีสุนัขที่พันธุ์ชนิดอื่นๆที่ได้รับการยอมรับในถิ่นที่กำเนินใกล้กันด้วย
มาตรฐานสายพันธ์ของสุนัขไซบีเรียน ฮัสกี้
ขนาด | ความสูงของเพศผู้อยู่ที่ 21 - 23.5 นิ้ว ขณะที่ความสูงของเพศเมียอยู่ที่ 20 - 22 นิ้ว |
ศรีษะ | มีขนาดปานกลางสมส่วนกับลำตัว หัวกะโหลกมีลักษณะกลม หัวกะโหลกระหว่างหูจะกว้าง และเรียวลงจรดตาทั้งสองข้าง |
ฟัน | ขาว สะอาด เป็นลักษณะขบกรรไกร |
ปาก | ความยาวของปากมีขนาดใกล้เคียงกับความยาวของหัวกะโหลก ปากมีความกว้างพอประมาณ สันปากตรง โคนปากใหญ่ และเรียวลงจรดปลายจมูก ริมฝีปากตึง มีสีเข้ม |
ตา | มีลักษณะรูปกลมรี อยู่ห่างกันพอประมาณ สีตาจะมีสีฟ้าหรือน้ำตาลเข้ม , เขียว , น้ำตาลอ่อน , เหลือง และแก้วตาหลายสี เช่น เหลืองข้างหนึ่ง ฟ้าข้างหนึ่ง |
หู | มีขนาดปานกลาง อยู่ในรูปสามเหลี่ยมส่วนปลายของหูนั้นจะมน ลักษณะเหมือนหูผึ่ง |
จมูก | ส่วนจมูกจะมีสีดำแซมด้วยสีเทาในสุนัขที่แทนและสีดำ สีเลือดหมูในสุนัขสีทองแดง และจะมีสีเนื้อในสุนัขสีขาว |
คอ | มีความยาวปานกลาง ในท่ายืนจะดูสง่าคอตรง เมื่อวิ่งหรือเดิน จะมีลักษณะโค้ง และคอจะยืดไปด้านหน้า |
อก | ไม่กว้างเกินไป จุดที่ลึกที่สุดอยู่ด้านหลังและเป็นระดับเดียวกันกับข้อศอก กระดูกซี่โครงมั่นคงเชื่อมต่อจากกระดูกสันหลัง มีลักษณะแบนด้านข้างเพื่อให้เคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ |
ลำตัว | ความยาวของลำตัวยาวกว่าส่วนสูงเล็กน้อย ช่วงอกลึกเล็กน้อย ซี่โครงขยายกว้าง แต่ด้านข้างจะแบนเล็กน้อย เพื่อการเคลื่อนไหวที่คล่องตัว หลังตรงและแข็งแรง |
เอว | - |
ขาหน้า | ขาจะมีช่องว่างห่างกันเล็กน้อยพอประมาณ ขนานและตั้งตรง ข้อศอกจะติดกับลำตัว |
ขาหลัง | ท่อนบนจะมีกล้ามเนื้อที่ดูแข็งแรง ขาหลังทั้งสองข้างจะตั้งตรงและขนานกัน ห่างกันพอประมาณ |
หาง | จะเหมือนพู่เหมือนหางหมาจิ้งจอก รูปโค้งเหนือหลังและลากไปทางด้านหลังเมื่อเคลื่อนไหว |
ขน | ไซบีเรียนจะมีขน 2 ชั้น มีความยาวปานกลาง โดยขนชั้นในจะนุ่ม ขนชั้นนอกจะตรงเหยียดเรียบไม่หยาบ |
สีขน | มีทุกสีตั้งแต่สีดำไปจนถึงสีขาวล้วน จะมีสีแต้มหรือตำหนิบนศีรษะ และลำตัว |
ลักษณะนิสัยของสุนัขสายพันธ์ไซบีเรียน ฮัสกี้
ไซบีเรียนเป็นสุนัขที่ฉลาด ไฮเปอร์ตื่นตัว พลังงานสูง สมาธิค่อนข้างสั้น รักอิสระ มีความเป็นตัวของตัวเองสูง เข้าขั้นเรียก่า ดื้อ ขี้บ่น ขี้เถียง ฝึกยาก เป็นนักทำลายข้าวของตัวยง แต่ไซบีเรียนเป็นน้องหมาที่เป็นมิตรกับทุกคน ไม่ว่าจะคุ้นหน้า หรือแปลกหน้า ไหวพริบดี ฉลาดแกมโกง ซึ่งไหวพริบกับความฉลาดที่มีของพวกเขานั้นไม่ค่อยได้เอาไปใช้ประโยชน์สักเท่าไหร่ โดยส่วนมากจะเป็นเล่ห์เหลี่ยมเพื่อหาทางซุกซนเสียมากกว่า ไซบีเรียนฮัสกี้ชอบหอนมากกว่าเห่า จนกลายเป็นปัญหาสร้างความเดือดร้อนให้แก่ครอบครัวและเพื่อนบ้าน พวกเขาค่อนข้างฝึกยาก จึงควรได้รับการฝึกอย่างสม่ำเสมอ เป็นประจำทุกวัน วันละ 10 - 15 นาที แต่ควรได้รับการออกกำลังกายเป็นประจำทุกวันมากกว่า 15 นาที โดยการวิ่ง เพื่อให้พวกเขาได้เผาผลาญพลังงาน ไม่ซุกซนจนเกินควร
การดูแล
การให้อาหารสุนัขไซบีเรียนนั้น จะให้ 2-3 ครั้ง/วัน ได้ แต่สุนัขพันธุ์นี้จะค่อนข้างกินอะไรยากอยู่เช่นกันหากไม่ถูกปาก มันจะยอมอดอาหารได้ 3-4 วัน ดังนั้นวิธีการที่จะกระตุ้นความอยากอาหารได้คือการพาสุนัขไปออกกำลังกาย ส่วนของอาหารนั้นผู้เลี้ยงสามารถสามารถนำอาหารสำเร็จรูปมาผสมกับอาหารอื่นได้เพื่อเพิ่มรสชาติและอรรถรสในการกินมากขึ้น อาหารที่สุนัขไซบีเรียนโปรดปรานที่สุด คืออาหารที่มีปลาผสมอยู่ในอาหาร สุนัขจะกินหมดได้อย่างรวดเร็ว
ส่วนเรื่องของการทำความสะอาดนั้น ไม่ควรอาบน้ำบ่อยเกินไป อาบ2-3 สัปดาห์ต่อครั้งก็พอ เพราะไซบีเรียนนั้นเป็นสุนัขสะอาด ไม่มีกลิ่นตัว หากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่สกปรกก็ไม่จำเป็นต้องอาบน้ำบ่อยๆ ก็ได้ ที่สำคัญเวลาอาบน้ำต้องใช้แชมพูอาบน้ำสุนัขโดยเฉพาะ ควรมีความอ่อนโยนมากๆ และหลังจากอาบน้ำเสร็จแล้วจะต้องใช้ไดร์เป่าขนให้แห้งสนิท อาจใช้ระยะเวลานาน แต่เพื่อไม่ทำให้น้องไซบีเรียนเป็นโรคผิวหนัง
เรื่องของขนสุนัขไซบีเรียนเป็นสิ่งที่สำคัญที่ผู้เลี้ยงควรใส่ใจ หากอยู่ในช่วงฤดูผลัดขนนั้น มันจะมีปริมาณขนที่ผลัดออกมาเยอะมากๆ ฉะนั้นผู้เลี้ยงควรจะต้องมั่นดูแล และแปรงขน เพื่อไม่ให้เกิดขนพันกัน ส่วนเรื่องของสุขภาพของสุนัขก็ถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นและผู้เลี้ยงควรจะให้ความสำคัญ เพราะนอกจากจะช่วยสร้างสุขภาพที่ดีแล้ว ยังช่วยให้สุขภาพจิตของสุนัขดีขึ้นด้วย ควรใช้เวลาการออกกำลังกาย 15 นาที/วัน ดีที่สุดและทำทุกๆวัน
ผู้เลี้ยงจะต้องทราบว่าหากไม่ได้พาสุนัขไปออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไซบีเรียนจะกลายเป็นตัวยุ่ง ก่อความรำคาญในทันที เพราะมันจะเกิดความเบื่อหน่าย จึงต้องหาอะไรทำเพื่อลดออาการเบื่อหน่ายลงไป อีกทั้งการออกกำลังกายยังเป็นการช่วยกนะตุ้นให้ไซบีเรียนนั้นอยากอาหารไปในตัวอีกด้วย
ผู้เลี้ยงที่เหมาะสม
ไซบีเรียนเหมาะสำหรับคนที่พร้อมจะดูแล มีเวลาให้ และให้ทุกอย่างที่มันต้องการได้ ไม่ว่าจะออกกำลังกาย และมิตรภาพจากเจ้าของ เพื่อสร้างมิตรภาพระหว่างเจ้านายกับสุนัข จะทำให้สุนัขเชื่อฟังและไม่ดื้อกับเจ้าของของมัน
โรคของสุนัขไซบีเรียน ฮัสกี้
1. ภาวะ Zinc-responsive dermatosis
ภาวะ Zinc-responsive dermatosis เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากการที่ร่างกายดูดซึมแร่ธาตุสังกะสี (Zinc) ไปใช้ได้น้อยกว่าปกติ เป็นโรคที่พบได้บ่อยในสุนัขกลุ่ม Arctic breeds หรือ Northern breeds โดยเฉพาะกับสุนัขพันธุ์ไซบีเรียน ฮัสกี้ ตามปกติแล้วร่างกายของน้องหมาจะใช้ประโยชน์จากแร่ธาตุสังกะสีในหลาย ๆ ด้าน เช่น การสังเคราะห์โปรตีน การเจริญของเซลล์ การหายของแผล ใช้ในระบบสืบพันธุ์ ใช้ในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ฯลฯ ซึ่งร่างกายน้องหมาจะดูดซึมแร่ธาตุสังกะสีที่ได้รับจากอาหารในส่วนของลำไส้เล็ก แต่ในสุนัขพันธุ์ไซบีเรียน ฮัสกี้ จะมีปัญหาในการดูดซึมแร่ธาตุดังกล่าว รวมถึงการที่ร่างกายได้รับกรด phytic acid หรือ phytates จากอาหารที่มีธัญพืชสูงเกินไป ซึ่ง phytic acid เป็นตัวจับหรือคีเลต (Chelate) กับแร่ธาตุสังกะสี หรือได้รับอาหารที่มีแคลเซียมสูงมากเกินไป เพราะแคลเซียมจะไปขัดขวางการดูดซึมสังกะสีในลำไส้ จึงทำให้ร่างกายได้รับแร่ธาตุสังกะสีลดลง
อาการที่พบ คือ น้องหมาจะมีขนร่วง ผิวหนังอักเสบ ขนหยาบ มีสะเก็ด รังแค และผิวหนังหนาตัว บริเวณรอบตา รอบจมูก รอบปาก ขา ข้อศอก อวัยวะเพศ และอุ้งเท้า สุนัขบางตัวอาจจะมีอาการคันร่วมด้วย ถ้ามีการติดเชื้อแทรกซ้อน มักพบได้ตั้งแต่อายุ 2-6 ปี หรือพบในช่วงที่สุนัขเป็นสัด เกิดความเครียด ปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมใหม่ หรือกำลังตั้งท้องอยู่ ในการวินิจฉัยคุณหมอจะใช้การตัดชิ้นเนื้อ (skin biopsy) ไปตรวจทางพยาธิวิทยา ส่วนการรักษาจะทำการเสริมสังกะสีในรูปแบบกินเข้าไป เช่น Zinc methionine (มีราคาแพง แต่ดูดซึมได้ดี) Zinc gluconate และ Zinc sulfate (มีราคาถูก แต่มีผลข้างเคียงทำให้อาเจียนได้) โดยจะเสริมให้กินทุกวันนาน 4-8 สัปดาห์ หรือบางรายอาจต้องได้รับไปตลอดชีวิตเลยครับ
2. โรคกล่องเสียงเป็นอัมพาต (Laryngeal Paralysis)
โรคกล่องเสียงเป็นอัมพาต เป็นโรคทางพันธุกรรมในสุนัขพันธุ์ไซบีเรียน ฮัสกี้ พบได้ตั้งแต่ อายุ 2-6 เดือน จัดเป็นความผิดปกติแต่กำเนิด (hereditary defect) เรียกว่า Congenital laryngeal paralysis เป็นผลมาจากกระดูกอ่อน (arytenoid cartilages) ของกล่องเสียง ไม่สามารถเปิดและปิดได้ตามปกติในระหว่างที่น้องหมาหายใจ เกิดการหย่อนตัวมาอุดกลั้นทางเดินหายใจส่วนต้นอาการที่พบ คือ สุนัขจะเห่าหรือไอเสียงเปลี่ยน หายใจเสียงดัง (เสียง stridor เสียงที่เกิดจากลมหายใจ ผ่านท่อทางเดินหายใจที่ตีบแคบ) หายใจเข้าลำบาก เหนื่อยง่าย บางครั้งหลังกินอาหารและน้ำ จะทำท่าขาก ๆ หรือสำลัก เหมือนมีอะไรติดคอ น้องหมาที่เป็นเจ้าของจะต้องคอยระมัดระวัง อย่าให้น้องหมาออกกำลังกายหนัก ๆ อยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิสูง เกิดความเครียด เพราะจะหายใจไม่ทัน บางรายอาจใช้วิธีรักษาโดยการผ่าตัด และเนื่องจากเป็นการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมที่ควบคุมโดยยีนเด่นบนออโตโซม (autosomal dominant) ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุด คือ การไม่นำพ่อและแม่พันธุ์ในตระกูลมีประวัติป่วยมาผสม
3. โรคข้อสะโพกเสื่อม (Hip Dysplasia)
ในการวินิจฉัยคุณหมอจะใช้การคลำตรวจข้อสะโพก สังเกตการยืน การเดิน และการวิ่งของน้องหมา จากนั้นจะทำการเอ็กซเรย์เพื่อดูโครงสร้างและความผิดปกติของข้อสะโพก ซึ่งใช้ประเมินความรุนแรงของโรค เพื่อวางแผนในการรักษาต่อไป ในการรักษานั้น จะใช้หลาย ๆ วิธีร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นให้ยาลดปวดและลดอักเสบ การลดน้ำหนักตัว การทำกายภาพโดยเลือกวิธีที่ลดแรงกระทำกับข้อต่อ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เช่น การว่ายน้ำ การเดินหรือวิ่งบนลู่วิ่งใต้น้ำ ฯลฯ เพื่อช่วยเสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อรองรับน้ำหนัก การเสริมสารอาหารบำรุงข้อต่อจำพวกกลูโคซามีนและคอนดรอยติน แต่สำหรับในรายที่เป็นรุนแรง คุณหมออาจพิจารณาทำการรักษาโดยการผ่าตัดรักษา
การป้องกันโรคนี้ต้องเริ่มตั้งแต่การคัดเลือกสายพันธุ์ โดยไม่นำพ่อและแม่สุนัขที่ภายในตระกูลมีประวัติการเป็นโรคข้อสะโพกเสื่อมมาเป็นพ่อและแม่พันธุ์ ส่วนลูกที่เกิดมาแล้ว เราสามารถชะลอไม่ให้โรคเกิดเร็วขึ้น โดยการควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วน หลีกเลี่ยงการอยู่บนพื้นลื่น ไม่เสริมแคลเซียมเกินความจำเป็น ไม่ยืนสองขาหลังหรือกระโดดขึ้นลงที่สูงเกินไปบ่อยๆ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเป็นประจำ และหมั่นพาน้องหมาไปตรวจสุขภาพของข้อสะโพกเป็นระยะๆ ทุก 6 เดือน เป็นอย่างน้อย
ในสุนัขพันธุ์ใหญ่ อย่างสุนัขพันธุ์ไซบีเรียน ฮัสกี้ก็เป็นอีกหนึ่งพันธุ์ที่มักจะเป็นโรคนี้เช่นกัน โรคข้อสะโพกเสื่อมจัดเป็นโรคทางพันธุกรรม ที่พบได้ทุกช่วงวัย บางรายพบได้ตั้งแต่อายุยังน้อยไม่ถึง 1 ปีก็มี โดยมีปัจจัยเสริม ได้แก่ ความอ้วน อยู่บนลื้น ๆ การเสริมแคลเซียมมากเกินไป สุนัขที่โตไวเกินไป ฯลฯ ความผิดปกติที่พบ คือ หัวข้อต่อของกระดูกต้นขาไม่สามารถสวมอยู่ในเบ้าสะโพกได้อย่างสนิท ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของน้องหมา ทำให้ลุกยืนลำบาก เคลื่อนไหวลำบาก บางตัวจะเจ็บปวด จึงไม่อยากลุกยืนหรือเดินเลยก็มี บางตัวอาจเดินท่าแปลก ๆ ให้เราเห็น
4. โรคข้อกระดูกอักเสบ (Osteoarthritis, Arthritis)
โรคข้อกระดูกอักเสบหรือโรคข้อต่ออักเสบ บางครั้งเราอาจเรียกโรคนี้ว่า โรคข้อเสื่อม (Degenerative joint disease หรือ DJD) มักพบในสุนัขที่มีอายุมาก จากผลสำรวจของ Orthopedic foundation for animals ที่ได้ทำการสำรวจ Siberian Husky Health Survey พบว่าโรคข้ออักเสบ (Arthritis) นี้ เป็นโรคกระดูกและข้อต่อ (Orthopedic disorders) ที่พบได้มากที่สุดในกลุ่มสำรวจสุนัขพันธุ์ไซบีเรียน ฮัสกี้ โดยโรคนี้จะส่งผลกับข้อต่อได้ทุกข้อ โดยเฉพาะข้อสะโพก ข้อศอก ข้อหัวไหล่ หรือแม้แต่ข้อกระดูกสันหลัง
โดยอาการที่พบจะแตกต่างกันไปขึ้นกับว่าเกิดกับข้อต่อไหน ซึ่งน้องหมาจะเจ็บปวด ไม่อยากใช้ขา นั่งหรือนอนมากกว่าลุกเดิน ทำกิจวัตรประจำวันไม่ได้ตามปกติ บางครั้งเดินยกขา เดินกะเผลก มีข้อบวม บางตัวอาจซึมลง มีไข้ จับคลำหรือยืดหดข้อแล้วเกิดเสียงกรอบแกรบ (crepitus sound) เป็นต้น คุณหมอจะทำการคลำตรวจร่วมกับการเอ็กซเรย์ เพื่อดูความผิดปกติบริเวณข้อ สำหรับการรักษาก็มีทั้งการรักษาทางยาและการผ่าตัด ร่วมกับการทำกายภาพ ลดน้ำหนัก และปรับอาหารเสริมสารบำรุงข้อต่อ
5. โรคไขสันหลังเสื่อม (Degenerative myelopathy)
ในการวินิจฉัยอาจเป็นเรื่องยากสักนิด ที่จะสรุปสาเหตุของโรคนี้ได้ในขั้นแรก คุณหมอจะทำการตรวจระบบประสาท และเอ็กซเรย์ เพื่อตัดสาเหตุที่ไม่เกี่ยวข้องออกไปก่อน ไม่ว่าจะเป็นโรคเกี่ยวกับหมอนรองกระดูกสันหลัง โรคมะเร็งและเนื้องอกในระบบประสาท โรคข้อเสื่อม ฯลฯ ในน้องหมาที่เป็นโรคนี้ จะทำได้แค่เพียงรักษาแบบประคองอาการ ร่วมกับการทำกายภาพ เพราะปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาที่จำเพาะ การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การไม่นำพ่อและแม่พันธุ์ในตระกูลมีประวัติป่วยด้วยโรคไขสันหลังเสื่อมมาผสม
สำหรับน้องหมาที่ป่วยเป็นโรคลมชัก เจ้าของต้องหมั่นสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ช่วงก่อนที่จะชักหรือระยะออร่า (Aura) น้องหมาจะมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป บางตัวหลบซ่อนตัว หอน ร้องคาง ตัวสั่น น้ำลายไหลมาก หรือดุขึ้น ฯลฯ เหล่านี้เป็นสิ่งเตือนเจ้าของว่าอีกไม่นานน้องหมาจะชักแน่นอน ในช่วงที่น้องหมากำลังแสดงอาการชัก เจ้าของต้องระมัดระวังอันตรายจากการที่ตัวหรือหัวน้องไปฟาดกับสิ่งของ คุณหมอจะให้ยาระงับชักในรูปสวนทวารมาใช้ในกรณีฉุกเฉิน เจ้าของจะต้องระวังตัวเองด้วย เพราะน้องหมาที่ชักจะไม่รู้สึกตัว จึงอาจกัดเราได้ และหลังจากอาการชักสงบแล้ว น้องหมาอาจยังจำเจ้าของไม่ได้ บางตัวอาจซึมลง มึนงง เดินเซ และหายใจเร็ว ฯลฯ เจ้าของจึงต้องสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด
6. โรคต้อกระจก (Cataracts)
โรคต้อกระจกเป็นโรคตาที่สำคัญโรคหนึ่งในสุนัขพันธุ์ไซบีเรียน ฮัสกี้ คำว่า Cataracts มาจากภาษากรีกที่สะกดว่า katarraktes แปลว่า น้ำตก เพราะในอดีตเข้าใจว่า เป็นของเหลวข้นจากสมองที่ไหลมาเคลือบหน้าเลนส์ตาไว้ตาจึงขุ่น โรคกระจกตาในน้องหมาพันธุ์ไซบีเรียน ฮัสกี้ส่วนใหญ่เกิดจากพันธุกรรม ถ่ายทอดผ่านยีนด้อย (Autosomal recessive gene) ซึ่งพบได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 3-12 เดือน จัดเป็นโรคต้อกระจกประเภท Juvenile cataracts หรือ hereditary cataracts จากรายงานการสำรวจของ The American College of Veterinary Ophthalmologists ในปี ค.ศ. 1999 พบสุนัขพันธุ์ไซบีเรียน ฮัสกี้ที่ป่วยด้วยโรคต้อกระจกมากถึง 8% (107 ตัว ใน 1345 ตัว)
5. โรคไขสันหลังเสื่อม (Degenerative myelopathy)
ในการวินิจฉัยอาจเป็นเรื่องยากสักนิด ที่จะสรุปสาเหตุของโรคนี้ได้ในขั้นแรก คุณหมอจะทำการตรวจระบบประสาท และเอ็กซเรย์ เพื่อตัดสาเหตุที่ไม่เกี่ยวข้องออกไปก่อน ไม่ว่าจะเป็นโรคเกี่ยวกับหมอนรองกระดูกสันหลัง โรคมะเร็งและเนื้องอกในระบบประสาท โรคข้อเสื่อม ฯลฯ ในน้องหมาที่เป็นโรคนี้ จะทำได้แค่เพียงรักษาแบบประคองอาการ ร่วมกับการทำกายภาพ เพราะปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาที่จำเพาะ การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การไม่นำพ่อและแม่พันธุ์ในตระกูลมีประวัติป่วยด้วยโรคไขสันหลังเสื่อมมาผสม
สำหรับน้องหมาที่ป่วยเป็นโรคลมชัก เจ้าของต้องหมั่นสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ช่วงก่อนที่จะชักหรือระยะออร่า (Aura) น้องหมาจะมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป บางตัวหลบซ่อนตัว หอน ร้องคาง ตัวสั่น น้ำลายไหลมาก หรือดุขึ้น ฯลฯ เหล่านี้เป็นสิ่งเตือนเจ้าของว่าอีกไม่นานน้องหมาจะชักแน่นอน ในช่วงที่น้องหมากำลังแสดงอาการชัก เจ้าของต้องระมัดระวังอันตรายจากการที่ตัวหรือหัวน้องไปฟาดกับสิ่งของ คุณหมอจะให้ยาระงับชักในรูปสวนทวารมาใช้ในกรณีฉุกเฉิน เจ้าของจะต้องระวังตัวเองด้วย เพราะน้องหมาที่ชักจะไม่รู้สึกตัว จึงอาจกัดเราได้ และหลังจากอาการชักสงบแล้ว น้องหมาอาจยังจำเจ้าของไม่ได้ บางตัวอาจซึมลง มึนงง เดินเซ และหายใจเร็ว ฯลฯ เจ้าของจึงต้องสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด
6. โรคต้อกระจก (Cataracts)
โรคต้อกระจกเป็นโรคตาที่สำคัญโรคหนึ่งในสุนัขพันธุ์ไซบีเรียน ฮัสกี้ คำว่า Cataracts มาจากภาษากรีกที่สะกดว่า katarraktes แปลว่า น้ำตก เพราะในอดีตเข้าใจว่า เป็นของเหลวข้นจากสมองที่ไหลมาเคลือบหน้าเลนส์ตาไว้ตาจึงขุ่น โรคกระจกตาในน้องหมาพันธุ์ไซบีเรียน ฮัสกี้ส่วนใหญ่เกิดจากพันธุกรรม ถ่ายทอดผ่านยีนด้อย (Autosomal recessive gene) ซึ่งพบได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 3-12 เดือน จัดเป็นโรคต้อกระจกประเภท Juvenile cataracts หรือ hereditary cataracts จากรายงานการสำรวจของ The American College of Veterinary Ophthalmologists ในปี ค.ศ. 1999 พบสุนัขพันธุ์ไซบีเรียน ฮัสกี้ที่ป่วยด้วยโรคต้อกระจกมากถึง 8% (107 ตัว ใน 1345 ตัว)
7. โรคต้อหิน (Glaucoma)
โรคต้อหิน เป็นความผิดปกติของการไหลเวียนน้ำในช่องม่านตา ทำให้ความดันภายในลูกตาเพิ่มสูงขึ้น จนรู้สึกว่าดวงตาแข็ง ๆ คล้ายกับก้อนหิน ความดันภายในลูกตาน้องหมาปกติจะอยู่ที่ 16-30 มม.ปรอท ถ้าความดันลูกตาสูงมาก จะทำให้มีเลือดคั่งที่เยื่อตาขาว (ตาแดงจัด) กระจกตาบวมน้ำ (ตาสีฟ้า) เจ็บปวดลูกตา (น้องหมาจะเกาตาหรือเกาหน้าถู) รูม่านตาขยาย ลูกตาขยายใหญ่ (ตาโปน) มีน้ำตาไหลมาก จนอาจสูญเสียการมองเห็นได้ หากความดันลูกตาสูงมากกว่า 60 มม.ปรอท
โรคต้อหิน เป็นความผิดปกติของการไหลเวียนน้ำในช่องม่านตา ทำให้ความดันภายในลูกตาเพิ่มสูงขึ้น จนรู้สึกว่าดวงตาแข็ง ๆ คล้ายกับก้อนหิน ความดันภายในลูกตาน้องหมาปกติจะอยู่ที่ 16-30 มม.ปรอท ถ้าความดันลูกตาสูงมาก จะทำให้มีเลือดคั่งที่เยื่อตาขาว (ตาแดงจัด) กระจกตาบวมน้ำ (ตาสีฟ้า) เจ็บปวดลูกตา (น้องหมาจะเกาตาหรือเกาหน้าถู) รูม่านตาขยาย ลูกตาขยายใหญ่ (ตาโปน) มีน้ำตาไหลมาก จนอาจสูญเสียการมองเห็นได้ หากความดันลูกตาสูงมากกว่า 60 มม.ปรอท
8. โรคจอประสาทตาเสื่อม (Progressive Retinal Atrophy)
จอประสาทตา (Retina) เป็นที่รับแสงและส่งสัญญาณไปยังสมองเพื่อประมวลผลออกมาเป็นภาพให้เห็น การเสื่อมของจอประสาทตาในน้องหมาพันธุ์ไซบีเรียน ฮัสกี้นั้น เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดผ่านยีนบนโครโมโซมเพศ (โครโมโซม X) เรียกว่า X-linked trait จึงพบลักษณะเหล่านี้ในเพศผู้มากกว่าเพศเมีย เนื่องจากเพศผู้มีโครโมโซม X เพียงเส้นเดียว โดยเป็นการเสื่อมของเซลล์รับแสงตัวสำคัญทั้ง rod และ cone เกิดได้กับตาทั้งสองข้าง และมักจะลงเอยด้วยการตาบอดในที่สุด มักพบในสุนัขที่มีอายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไป เรียกความผิดปกติเช่นนี้ว่า Later onset -Progressive rod-cone degeneration
ในการวินิจฉัยคุณหมอผู้ชำนาญการด้านโรคตา จะทำการส่องตรวจตาด้วยกล้อง Ophthalmoscope ร่วมกับการตรวจดูคลื่นไฟฟ้าจอประสาทตา (Electroretinography) เพื่อดูการทำงานและตรวจหาความผิดปกติของจอประสาทตา ในต่างประเทศมีการพัฒนาชุดทดสอบทางพันธุกรรม (Genetic test หรือ DNA testing) เพื่อระบุน้องหมาพันธุ์ไซบีเรียน ฮัสกี้ ที่อาจเป็นพาหะ (carrier) นำโรค และคัดกรองสุนัขที่เป็นไม่ให้นำมาใช้เป็นพ่อและแม่พันธุ์ต่อไป
จอประสาทตา (Retina) เป็นที่รับแสงและส่งสัญญาณไปยังสมองเพื่อประมวลผลออกมาเป็นภาพให้เห็น การเสื่อมของจอประสาทตาในน้องหมาพันธุ์ไซบีเรียน ฮัสกี้นั้น เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดผ่านยีนบนโครโมโซมเพศ (โครโมโซม X) เรียกว่า X-linked trait จึงพบลักษณะเหล่านี้ในเพศผู้มากกว่าเพศเมีย เนื่องจากเพศผู้มีโครโมโซม X เพียงเส้นเดียว โดยเป็นการเสื่อมของเซลล์รับแสงตัวสำคัญทั้ง rod และ cone เกิดได้กับตาทั้งสองข้าง และมักจะลงเอยด้วยการตาบอดในที่สุด มักพบในสุนัขที่มีอายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไป เรียกความผิดปกติเช่นนี้ว่า Later onset -Progressive rod-cone degeneration
ในการวินิจฉัยคุณหมอผู้ชำนาญการด้านโรคตา จะทำการส่องตรวจตาด้วยกล้อง Ophthalmoscope ร่วมกับการตรวจดูคลื่นไฟฟ้าจอประสาทตา (Electroretinography) เพื่อดูการทำงานและตรวจหาความผิดปกติของจอประสาทตา ในต่างประเทศมีการพัฒนาชุดทดสอบทางพันธุกรรม (Genetic test หรือ DNA testing) เพื่อระบุน้องหมาพันธุ์ไซบีเรียน ฮัสกี้ ที่อาจเป็นพาหะ (carrier) นำโรค และคัดกรองสุนัขที่เป็นไม่ให้นำมาใช้เป็นพ่อและแม่พันธุ์ต่อไป
9. โรคลมชัก (Epilepsy)
โรคลมชักเป็นความผิดปกติของการนำกระแสไฟฟ้าในสมองส่วน cerebral cortex ทำให้ resting membrane potential ลดต่ำลงกว่าปกติ จึงถูกกระตุ้นได้ง่าย ผลคือกล้ามเนื้อเกิดการหดตัวเป็นชุดอย่างต่อเนื่อง อาการชักแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ ชักแบบเฉพาะที่ (Partial seizure) เช่น หน้ากระตุก เคี้ยวปาก กลุ่มอาการไล่งับแมลง (Fly Snapping Syndrome) ฯลฯ และชักแบบทั้งตัว (Generalized seizure) อาการคือ ล้มลงนอนชัก ขาเหยียดเกร็ง ทำท่าเหมือนว่ายน้ำหรือปั่นจักรยานอากาศ กัดฟัน ไม่สามารถควบคุมปัสสาวะและอุจาระราดได้ ไม่รู้สึกตัวในขณะเกิดอาการชัก ฯลฯ สุนัขส่วนใหญ่มักเกิดอาการชักแบบทั้งตัวมากกว่า โดยอยู่ดี ๆ ก็เกิดขึ้นเองและหยุดไปเอง โดยระยะเวลาในการชักจะต่างกันไป แต่หากชักอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 5 นาที จะอันตรายมาก เพราะสมองจะขาดออกซิเจนได้ ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
สุนัขพันธุ์ไซบีเรียน ฮัสกี้เป็นพันธุ์หนึ่งที่พบอุบัติการณ์เกิดโรคลมชักค่อนข้างสูง สาเหตุยังไม่แน่ชัดว่าเกิดจากพันธุกรรมหรือไม่ อาการชักยังมีสาเหตุอื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโรคจากเชื้อไวรัส เช่น โรคไข้หัดสุนัข ฯลฯ มีน้ำตาลในเลือดต่ำ (พบบ่อยในลูกสุนัข) มีแคลเซียมในเลือดต่ำ (พบบ่อยในแม่หลังคลอด) เป็นโรคตับ เป็นโรคไตวาย ได้รับสารพิษ เช่น สตริกนิน ยาฆ่าแมลง ฯลฯ มีเนื้องอกในสมอง เป็นต้น ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกัน แนะนำว่าไม่ควรนำสุนัขที่ป่วยเป็นโรคนี้โดยไม่ทราบสาเหตุมาใช้เป็นพ่อหรือแม่พันธุ์
น้องหมาที่เป็นโรคลมชักจะต้องได้รับยากิน เพื่อลดความรุนแรงและความถี่ของอาการชักลง โดยยาระงับชักนั้นมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีผลข้างเคียงแตกต่างกันไป เจ้าของต้องมีวินัยในการป้อนยาให้น้องหมาอย่างเคร่งคัด สม่ำเสมอ จะขาดไม่ได้เด็ดขาด ตลอดจนต้องหมั่นพาน้องหมาเข้ารับการตรวจวัดระดับยาในกระแสเลือด และตรวจประเมินค่าตับ ค่าไตเพื่อดูผลข้างเคียงจากยาเป็นระยะ ๆ ด้วย โรคลมชักเป็นโรคที่ต้องได้รับการดูแลรักษาต่อเนื่องยาวนาน จะหยุดยาได้ก็ต่อเมื่อไม่พบอาการชักมาแล้วมากกว่า 1 ปีครับ
10. โรคกระจกตาเสื่อม (Corneal Dystrophy)
กระจกตาหรือตาดำ (cornea) เป็นส่วนประกอบชั้นนอกของลูกตา กระจกตาปกติควรมีความใส น้องหมาพันธุ์ไซบีเรียน ฮัสกี้ที่เป็นโรคกระจกตาเสื่อมจะมีการสะสมของไขมันจำพวกไตรกลีเซอรไลค์ในชั้น Epithelium หรือ Stoma ของกระจกตาเรียกว่า Corneal lipidosis หรือ Lipid keratopathy จึงทำให้กระจกตาขุ่น ขาว วาว คล้ายเกิดผลึกที่กระจกตา อาจพบได้ข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ มักพบในรายที่มีอายุมากและพบในเพศเมียมากกว่าเพศผู้
จากการศึกษาทางพันธุกรรมในสุนัขพันธุ์ไซบีเรียน ฮัสกี้พบว่าเกิดจากการถ่ายทอดผ่านยีนด้อย (recessive gene) ในรายงานการสำรวจของ The American College of Veterinary Ophthalmologists ในปี ค.ศ. 1999 พบสุนัขพันธุ์ไซบีเรียน ฮัสกี้ที่ป่วยด้วยโรคกระจกตาเสื่อมประมาณ 3% (44 ตัวจาก 1,345 ตัว) การรักษาส่วนใหญ่จะรักษาไปตามอาการ จุดประสงค์ก็เพื่อลดอาการและควบคุมการสะสมของไขมันที่กระจกตา อาจต้องจำกัดอาหารประเภทไขมัน เพื่อป้องกันไม่ให้มีไขมันในเลือดสูงเกินไป สำหรับสุนัขที่เป็นป่วยเป็นโรคนี้ ไม่แนะนำให้ใช้เป็นพ่อหรือแม่พันธุ์ เพื่อป้องกันการเกิดโรคนี้ต่อไปยังรุ่นลูก
กระจกตาหรือตาดำ (cornea) เป็นส่วนประกอบชั้นนอกของลูกตา กระจกตาปกติควรมีความใส น้องหมาพันธุ์ไซบีเรียน ฮัสกี้ที่เป็นโรคกระจกตาเสื่อมจะมีการสะสมของไขมันจำพวกไตรกลีเซอรไลค์ในชั้น Epithelium หรือ Stoma ของกระจกตาเรียกว่า Corneal lipidosis หรือ Lipid keratopathy จึงทำให้กระจกตาขุ่น ขาว วาว คล้ายเกิดผลึกที่กระจกตา อาจพบได้ข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ มักพบในรายที่มีอายุมากและพบในเพศเมียมากกว่าเพศผู้
จากการศึกษาทางพันธุกรรมในสุนัขพันธุ์ไซบีเรียน ฮัสกี้พบว่าเกิดจากการถ่ายทอดผ่านยีนด้อย (recessive gene) ในรายงานการสำรวจของ The American College of Veterinary Ophthalmologists ในปี ค.ศ. 1999 พบสุนัขพันธุ์ไซบีเรียน ฮัสกี้ที่ป่วยด้วยโรคกระจกตาเสื่อมประมาณ 3% (44 ตัวจาก 1,345 ตัว) การรักษาส่วนใหญ่จะรักษาไปตามอาการ จุดประสงค์ก็เพื่อลดอาการและควบคุมการสะสมของไขมันที่กระจกตา อาจต้องจำกัดอาหารประเภทไขมัน เพื่อป้องกันไม่ให้มีไขมันในเลือดสูงเกินไป สำหรับสุนัขที่เป็นป่วยเป็นโรคนี้ ไม่แนะนำให้ใช้เป็นพ่อหรือแม่พันธุ์ เพื่อป้องกันการเกิดโรคนี้ต่อไปยังรุ่นลูก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น