วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Pitbull



ประวัติของสุนัขสายพันธ์พิทบลู

     มาตราฐานความเป็นมาของสายพันธ์อเมริกัน พิทบลู เทอรเรีย บรรพบุรุษของสุนัขอเมริกันพิทบลู นั้น สืบทอดเชื้อสายมาจาก IRISH และ ENGLISH PIT FIGHTING DOG ซึ่งถูกนำเข้า USA ตอนกลางศตวรรษที่ 19 ในอเมริกาสุนัขพันธ์นี้ นอกจากใช้สำหรับสู้กันแล้ว มันยังถูกนำมาใช้ในงานด้านอื่นๆ ด้วย เช่น ใช้สำหรับต้อนฝูงหมูป่า และวัวควาย ใช้เป็นสุนัขยาม สุนัขนี้ในยุคแรก ๆ จะมีขนาดเล็ก ประมาณ 15-25 ปอนด์ จนกระทั่งในประมาณกลางศตวรรษที่ 19 ในอเมริกาสามารถผสมพันธ์ได้ขนาดที่มากกว่า 50 ปอนด์ แต่ยังเป็นส่วนน้อย จากปี 1990 ถึง 1975 หรือต่อจากนั้น ขนาดของสุนัขจะใหญ่มากขึ้น โดยที่ความสามารถอื่น ๆ ไม่ได้ลดลง แต่ก็ยังมีเป็นจำนวนน้อยมาก สุนัขในปัจจุบันส่วนใหญ่ ไม่ได้มุ่งพัฒนาที่ประสิทธิภาพเหมือนในยุคแรก ๆ ซึ่งในยุคแรกๆ สุนัขในยุคแรกจะวัดคุณค่าได้เพียงอย่างเดียว จากการทดสอบเท่านั้น ปัจจุบันนี้มักจะมีคำกล่าวเป็นสัจจธรรมว่าใหญ่กว่าก็ย่อมดีกว่า ในอเมริกา เข้ามาแทนที่ การวัดผลสุนัขในวิธีดั้งเดิมและผู้เพาะพันธ์สุนัขส่วนใหญ่ก็เห็นด้วย มาตราฐานในปัจจุบันจึงมีขนาดสูงกว่าเดิมประมาณ 3 นิ้ว และน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากกว่า 1 เท่าตัว ดู ตลอดศตวรรษที่ 19 นี้ผู้คนยังเรียกชื่อสุนัขพิทบลู แตกต่างกันออกไปเช่น 1 PIT TERRIERS 2 PIT BULL TERRIERS 3 HALF AND HALF 4 STAFFORD SHIRE FIGHTING DOG 5 OLD FAMILY DOGS (ไอริส) 6 YANKEE TERRIERS (NORTHERN NAME) 7 REBEL TERRIERS (SOUTHERN NAME) UKC ได้ก่อตั้งในปี 1898โดย MR. CHAUNCY BENNET โดยวัตถุประสงค์เพื่อรับจดทะเบียนสุนัขอเมริกันพิทบลู เพียงอย่างเดียว และหลังจากนั้น ก็เริ่มรับจดทะเบียนสุนัขพันธ์อื่น ๆ



มาตรฐานสายพันธ์สุนัขพิทบลู

ขนาด

สำหรับเพศเมีย 40-70 ปอนด์ สำหรับเพศผู้แต่ถ้ามีน้ำหนักถึง 80 ปอนด์ ก็ไม่ผิดมาตราฐานหากได้สัดส่วน มองดูแล้วสง่าสมส่วน ดูบึกบึน แต่ทว่า พิทบูล ที่มีน้ำหนักถึง 80 ปอนด์ นี้มีไม่มากนัก
ศรีษะ

สุนัขพันธุ์อเมริกัน พิทบูล เทอร์เรียลักษณะดีๆ จะต้องมีศรีษะลักษณะเหมือนลิ่ม ที่มีปลายแหลม คือด้านระหว่างตากับตอนบนสุดของศรีษะจะเป็น รูปสี่เหลี่ยม แล้วค่อยๆมนแหลมลงมาบริเวณจมูก 
ฟันขากรรไกรแข็งแรง มีลักษณะฟันแบบขบกรรไกร 
ปากปากกว้างและลึก โดยมีความเรียวเล็กน้อยที่ปลายจมูก และลาดลงเล็กน้อยใต้ตา ความยาวของปากสั้นกว่าความยาวของกะโหลก เส้นบนของปากเป็นเส้นตรง ส่วนกรามล่างนั้นจะกว้างและลึก ริมฝีปากสะอาดและตึง
ตามีขนาดปานกลาง กลมเป็นทรงอัลมอนด์ ตาเป็นประกาย สามารถมีสีไหนก็ได้ ยกเว้นสีฟ้าหรือตา 2 สี ถือว่าเป็นข้อบกพร่องที่ร้ายแรง 
หูหูมีขนาดปานกลางพับลง ปกติจะตัดขลิบใบหูให้ตั้งขึ้น 
จมูกบริเวณจมูกของสุนัขพันธุ์ อเมริกัน พิทบูล เทอร์เรีย ที่ดีนั้น ควรจะมีขนาดปากปานกลางและจะต้อง มีรอยเว้าหรือดั้งพอประมาณ
คอเพราะความที่มีสายเลือดของนักสู้เต็มตัว พิทบูล เทอร์เรีย จึงควรจะมีลำคอที่ขนาดปานกลาง หากลำคอสั้นจะทำให้เสีย เปรียบในการต่อสู้ เพราะขาดความยืดหยุ่นที่ดี
อกเพราะความที่เป็นสุนัขนักสู้ที่แข็งแกร่ง หน้าอกจึงถือว่ามีความสำคัญไม่น้อย จะต้องมีหน้าอกที่ลึกและกว้าง แสดงถึงความมีพลังซ่อนเล้น
ลำตัวลำตัวใหญ่ กว้าง กลมและลึกลงมาตลอดลำตัวจนถึงบริเวณอก ซึ่งพื้นที่สำหรับหัวใจและปอด ความกว้างของช่วงอกควรมีสัดส่วนที่พอดีกับความลึก ไม่ควรมีความกว้างมากกว่าความลึก ช่วงอกหน้าไม่ควรขยายมากเกินกว่าหัวไหล่ซี่โครงแผ่ขยายจากกระดูกสันหลัง ช่วงท้องสั้น โค้งเล็กน้อยไปถึงส่วนบนของตะโพก ตะโพกลาดลงเล็กน้อย
เอว-
ขาหน้ากระดูกหัวไหล่นี้จะมีความยาวเกือบเท่ากับความยาวของกระดูกขาท่อนบน และกระดูกจะต้องอยู่ในมุมได้อย่างถูกต้อง ขาหน้าแข็งแรง และเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ ข้อศอกอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้กับลำตัว เมื่อมองจากด้านหน้า ตำแหน่งของขาหน้าจะกว้างออกได้อย่างชัดเจน และตั้งฉากกับพื้นดิน กระดูกที่ติดกับกระดูกขาท่อนล่างของขาหน้านั้นจะสั้น แข็งแรง ตั้งตรง และมีความยืดหยุ่นได้เป็นอย่างดี เมื่อมองจากด้านข้าง กระดูกที่ติดกับกระดูกขาท่อนล่างของขาหน้านี้เกือบจะตั้งตรง 
ขาหลังสะโพกมีสัดส่วนดี กว้าง และ หนาทั้งสองด้าน กระดูกและกล้ามเนื้อช่วงหลังสมดุลกับช่วงหน้า ขาท่อนบนหนาได้รูป เห็นกล้ามเนื้อชัดเจน อุ้งเท้าหลังอยู่ในตำแหน่งดี ตั้งฉากกับพื้น เมื่อมองจากด้านหลัง อุ้งเท้าหลังตรงเป็นรูปขนาน
หาง


อันนี้แล้วแต่คนชอบ ไม่มีมาตราฐานบังคับว่าจะต้องตัดหางให้สั้นหรือไม่ เหมือนหูนั่นแหละจะขลิปปลายทั้งสองหรือไม่ก็ได้ ความสูง อเมริกัน พิทบูล เทอร์เรีย ควรจะมีความสูงประมาณ 17-18 นิ้ว สำหรับเพศเมีย และความสูงประมาณ 18-19 นิ้ว สำหรับเพศผู้
ขนขนมีลักษณะเป็นเส้นตรง สั้น เรียบติดตัว เป็นเงางาม เรียบ ละเอียด และการจัดวางของเส้นขนจะหยาบเพียงพอสำหรับที่จะป้องกันผิวหนังได้
สีขนสามารถมีสีได้หลากหลายจากสีครีมไปจนถึงสีดำ หรือเฉดสีน้ำตาลแกมเหลืองและสีแดง ลายเสือรูปแบบของลายหลายๆเฉดสี 



การดูแลสุนัขพันธ์พิทบลู

     เคล็ดลับการเลี้ยงคือหากสุนัขทำผิด ก็ควรรีบนำตัวเข้ากรงทันที เป็นการลงโทษ เพื่อให้มันได้คิดว่า สิ่งที่มันทำนั้น เป็นความผิด และในระหว่างที่กำลังเจริญเติบโต ต้องฝึกมันเข้าสังคม พาจูงไปเดินสวนสาธารณะ ให้รู้จักคนเยอะๆ และพยายามให้สุนัขแยกออกด้วยตัวเองว่า ใครคือมิตร และใครคือศัตรู เวลาหลุดออกจากเชือกหรือกรง หากจะกัดจะได้กัดถูกคน ส่วนการให้อาหารต้องใส่จาน และต้องฝึกไม่ให้กินอาหารที่พื้น ป้องกันผู้ไม่ประสงค์ดี โยนอาหารปนยาพิษให้กิน
   
     ส่วนโรคที่ต้องระวังในสุนัขพันธุ์นี้ก็คือ โรคไข้หัดสุนัข (Canine Distemper) ซึ่งเป็นโรคที่พบได้กับสุนัขแทบทุกสายพันธุ์ ไม่เว้นแม้แต่อเมริกันพิทบูลเทอร์เรีย สาเหตุจากเชื้อไวรัส Canine Distemper virus หรือ CDV RNA Virus Paramyxovirus การติดต่อ สามารถติดต่อทางระบบหายใจ จะติดทางน้ำมูก ขี้ตา น้ำลาย โดยหายใจเข้าไปหรือ หรือจากการสัมผัสอาการของโรค ถ้าเป็นแบบเฉียบพลัน อาการที่ปรากฎหลังได้รับเชื้อ จะมีไข้สูง เบื่ออาหาร เยื่อตาอักเสบ อาการดังกล่าวจะหายไปและจะกลับมา โดยสุนัขจะซึม เบื่ออาหาร จมูกแห้ง มีน้ำมูกและขี้ตาขุ่นเป็นหนอง ไอ คล้ายอาการของหวัด ปอดบวม อาเจียน ท้องเสีย กล้ามเนื้อกระตุก ชัก ขาหลังเป็นอัมพาตและตายไปในที่สุด แต่ถ้ารักษาได้ไม่เสียชีวิต สุนัขก็จะเป็นโรคนี้แบบเรื้อรัง ฝ่าเท้าจะหนา ผอม ไม่ตอบสนองต่อการรักษาและมักจะตายในเวลาต่อมา แต่ในสุนัขบางตัวที่ไม่ตาย จะใช้เวลารักษาหรือพักฟื้นนาน

     การป้องกันขั้นแรกคือการได้รับวัคซีนป้องกัน และวัคซีนรวมที่จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายเพิ่มภูมิคุ้มกันโรคได้ นอกจากนี้ผู้เลี้ยงควรใส่ใจให้วิตามินตามคำแนะนำของแพทย์ และรักษาตามอาการของโรค เช่น ให้น้ำเกลือ ยาระงับชัก แต่สุดท้ายเจ้าหมาน้อยแสนรักก็จะจากไปในที่สุด ดังนั้น การป้องกันโรคไข้หัดที่ดีที่สุด คือ การฉีดวัคซีนให้กับสุนัขไว้ตั้งแต่ยังเล็กและฉีดสม่ำเสมอทุกปีเป็นดีที่สุด




โรคของสุนัขสายพันธ์พิทบลู

โรคร้ายที่ควรระวัง 
          โรคไข้หัดสุนัข (Canine Distemper) เป็นโรคที่พบได้กับ สุนัข แทบทุกสายพันธุ์ ไม่เว้นแม้แต่ อเมริกันพิทบูล สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส Canine Distemper virus หรือ CDV RNA Virus Paramyxovirus การติดต่อ สามารถติดต่อทางระบบหายใจ จะติดทางน้ำมูก ขี้ตา น้ำลาย โดยหายใจเข้าไปหรือ หรือจากการสัมผัสอาการของโรค ถ้าเป็นแบบเฉียบพลัน อาการที่ปรากฎหลังได้รับเชื้อ จะมีไข้สูง เบื่ออาหาร เยื่อตาอักเสบ อาการดังกล่าวจะหายไปและจะกลับมา โดย สุนัข จะซึม เบื่ออาหาร จมูกแห้ง มีน้ำมูกและขี้ตาขุ่นเป็นหนอง ไอ คล้ายอาการของหวัด ปอดบวม อาเจียน ท้องเสีย กล้ามเนื้อกระตุก ชัก ขาหลังเป็นอัมพาตและตายไปในที่สุด

          แต่ถ้ารักษาได้ไม่เสียชีวิต สุนัข ก็จะเป็นโรคนี้แบบเรื้อรัง ฝ่าเท้าจะหนา ผอม ไม่ตอบสนองต่อการรักษาและมักจะตายในเวลาต่อมา แต่ใน สุนัข บางตัวที่ไม่ตาย จะใช้เวลารักษาหรือพักฟื้นนาน

          การป้องกันขั้นแรก คือการได้รับวัคซีนป้องกัน และวัคซีนรวมที่จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายเพิ่มภูมิคุ้มกันโรคได้ นอกจากนี้ผู้เลี้ยงควรใส่ใจให้วิตามินตามคำแนะนำของแพทย์ และรักษาตามอาการของโรค เช่น ให้น้ำเกลือ ยาระงับชัก แต่สุดท้ายเจ้าหมาน้อยแสนรักก็จะจากไปในที่สุด ดังนั้น การป้องกันโรคไข้หัดที่ดีที่สุด คือ การฉีดวัคซีนให้กับสุนัขไว้ตั้งแต่ยังเล็กและฉีดสม่ำเสมอทุกปีเป็นดีที่สุด

วิธีเอาตัวรอดเมื่อ พิทบูล กัด หรือช่วยเหลือผู้อื่นที่ถูก พิทบูล ทำร้าย 
          * สิ่งแรก คือ ควรหลีกเลี่ยงไม่เดินผ่านบ้านที่เลี้ยง สุนัขดุ หรือถืออาวุธไว้ป้องกันตัวกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

          * หากถูก สุนัข กัดโดยเฉพาะพันธุ์ดุร้าย อย่าง อเมริกันพิทบูล หรือ ล็อตไวเลอร์ ให้ตั้งสติให้ดี รีบตะโกนเรียกให้คนช่วย

          *หลังจากนั้นให้ใช้ไม้งัดขากรรไกรของสุนัข ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมการกัด ให้ขากรรไกรง้างออกเพื่อให้หลุกจากการถูกกัด เพราะสุนัขพันธุ์เหล่านี้มีขากรรไกรสั้นกว่าปกติ มีเขี้ยว และฟันใหญ่กว่าปกติ เป็นปัจจัยเพิ่มแรงกัดให้มีความรุนแรงมากขึ้น 

           * หากไม่ได้ผล ให้ใช้มือข้างที่ถนัดที่สุด เกร็งมือให้แข็งบีบลงไปที่บริเวณลำคอของ สุนัข ซึ่งเป็นส่วนคอหอย หลอดลม บีบให้แรงที่สุด และนานที่สุด ทำให้ สุนัข เกิดอาการสำลัก เพราะขาดอากาศหายใจ ทำให้มันต้องปล่อยเหยื่อที่กัดไว้ออก เพื่อสูดอากาศหายใจ ในระหว่างนี้ให้รีบหนีให้ไกลที่สุด หรือหาอาวุธมาตี สุนัข ให้บาดเจ็บ

          * ที่สำคัญ มีข้อห้ามที่ไม่ควรทำระหว่างที่ถูกกัดและมีอวัยวะในร่างกายคาอยู่กับปากสุนัข คือ ห้ามตี หรือทุบที่ลำตัว สุนัข เด็ดขาด เพราะจะยิ่งเพิ่มความโกรธ ความดุร้าย ทำให้ สุนัข เพิ่มแรงกัดมากขึ้น จะทำให้บาดเจ็บสาหัสมากขึ้น

          * หลังจากหลุดจากการถูก สุนัข กัดแล้ว ให้รีบล้างทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาดผสมสบู่ 3 รอบ และใช้ยาฆ่าเชื้อราดที่บาดแผล แล้วรีบพบแพทย์ทันที เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งเป็นโรคติดต่อใน สัตว์เลี้ยง ลูกด้วยนม โดยเฉพาะใน สุนัข และแมว ซึ่งขณะนี้ยังไม่มียารักษาโรค หากติดเชื้อทำให้เสียชีวิตได้ รวมถึงกรณี สุนัข กัดกันเองด้วย ให้ล้างทำความสะอาดแผล สุนัข เช่นเดียวกัน และรีบนำ สุนัข ไปฉีดวัคซีนป้องกันทันที


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น