วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Japanese Spitz

{pic-alt}


ความเป็นมา


     จริงๆแล้วมีสุนัข spitz อยู่หลายพันธุ์ เช่น Japanese spitz , Finnish Spitz ,German Spitz แต่ที่ได้รับความนิยมในบ้านเราที่สุดคือ Japanese spitz ซึ่งเป็นสุนัขที่เกิดจากการ ผสมพันธุ์ระหว่างสุนัข Siberian และ Samoyed ให้ตัวเล็กลง จะเห็นว่าหน้าตาเหมือนเจ้า Samoyed ทุกอย่าง เพียงแต่ว่าขนาดเล็กลงมาเท่านั้นเอง ในสมัยก่อนสุนัขพันธุ์นี้เป็นที่นิยมในประเทศญี่ปุ่นมาก จึงเป็นที่มาของชื่อพันธุ์ 


ลักษณะนิสัย


     มีนิสัยร่าเริง ฉลาด และขี้เล่น ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา และเชื่อฟังเจ้าของ อาจจะเห่าเก่ง เพราะมันจะมีสัญชาติญาณในการเตือนภัยให้เจ้าของเมื่อมันรู้สึกว่ามีอันตราย หรือมีคนแปลกหน้าที่ไม่คุ้นเคยเข้ามาใกล้ มันจะทำตัวเป็นยามปกป้องบ้านอยู่เสมอเลย ตามปกติแล้วเป็นสุนัขที่ฝึกได้ง่ายครับ แต่เจ้าของจะต้องให้เวลากับมันและฝึกอย่างสม่ำเสมอ สุนัขพันธุ์นี้จะชอบเล่นเกม อย่างพวกขว้างของแล้วให้ไปเอากลับมานี่จะชอบมากเป็นพิเศษ โดยทั่วไปแล้วสุนัขพันธุ์นี้เป็นมิตรกับเด็ก และเข้ากันได้ดีกับสุนัขที่ถูกเลี้ยงอยู่ในบ้านเดียวกัน

การดูแล


     การดูแลขน นี่ควรจะได้รับการแปรงหรือหวีอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่มีความจำเป็นจะต้องพาไปตัดขน ตามปกติแล้วเจ้าสปิตซ์เป็นหมาที่รักสะอาดมาก อาจจะไม่ต้องอาบน้ำบ่อยนักในหน้าผลัดขน ขนของสุนัขพันธุ์นี้จะร่วงค่อนข้างเยอะ ตามลักษณะของสุนัขพันธุ์ที่มีขนสองชั้นและเป็นสุนัขในกลุ่ม Northern Breed ทั่วไป

ผู้เลี้ยงที่เหมาะสม

     ผู้เลี้ยงต้องให้เจ้าตูบออกกำลังกายอย่างเพียงพอ เพราะเป็นสุนัขที่พลังงานค่อนข้างเยอะ ในแต่ละวันควรให้โอกาสมันได้วิ่งเล่น หรือเล่นเกมกับเขาบ้าง ก็จะลดปัญหาเรื่องการกัดทำลายข้าวของ ในบ้านลงได้

{pic-alt}

มาตรฐานสายพันธุ์
 

ขนาดสูง 12-14 นิ้ว  น้ำหนัก 5-6 กิโล
ศรีษะมีขนาดปานกลาง ส่วนหักบนใบหน้าระหว่างตาทั้ง 2 ข้างชัดเจน 
ฟันลักษณะฟันแบบขบกรรไกร
ปากเป็นสีดำสนิท
ตาเป็นสีดำสนิท
หูเล็ก และตั้งตรง
จมูกเป็นสีดำสนิท
คอคอได้รูป ยาวปานกลาง รับกับช่วงไหล่ เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ
อกอบกว้าง ลึก
ลำตัวขนาดลำตัวกำลังพอดี ค่อนข้างบางเล็กน้อย ลำตัวมีลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยมกระทัดรัด ขนาดความกว้างของลำตัวกับส่วนสูงค่อนข้างใกล้เคียงกัน หลังสั้นตรง
เอว-
ขาหน้าขาหน้าตรง ขนานกันทั้ง 2 ข้าง ขาดูสั้นกว่าช่วงตัวเล็กน้อย
ขาหลังต้นขาเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ ส่วนโค้งหน้าขา โค้งรับกับขาท่อนล่างกำลังดี ท่อนขาล่างตรง มองจากด้านหลังขนานกันทั้ง 2 ข้าง
หางเป็นพวงและม้วนขึ้น 
ขนขน 2 ชั้นยาวปานกลาง 
สีขนเป็นสีขาวตลอดทั้งตัว


โรคของสุนัขสายพันธ์สปริตซ์

1.โรคไข้หัด 
โรคนี้เกิด จากเชื้อไวรัส มักเกิดกับลูกสุนัขอายุน้อย ๆ ตั้งแต่ 2-3 เดือน บางครั้งก็พบว่าเกิดใน สุนัขที่โตแล้วเมื่อสุนัขเป็นโรคนี้โอกาสที่จะหาย นั้น มีน้อยมาก โดยอาการของมันก็แสดงออกมาทางอาการประสาท ตัวกระตุก หรือชักตลอดชีวิตส่วนใหญ่แล้วตาย อย่างทรมาน อาการของโรค เราสามารถสังเกตได้จากการที่สุนัขมีน้ำมูกสีเขียวไหลย้อย ดูเหมือน ปอดบวม มีไข้ เบื่ออาหาร ซึมมีตุ่มหนองขึ้นที่ใต้ท้อง มีขี้ตาสีเขียวๆเกอะกรังตลอดเวลาเมื่ออาการทวีความรุนแรงขึ้นจะพบว่ามีอาการทางประสาท คือปากสั่น กระตุก และลามไปที่บริเวณหนังหัว ใบหน้า ขาหลัง อาจจะพบบริเวณฝ่าเท้า กระด้างขึ้น บางรายพบว่ามีท้องร่วงร่วม เราสามารถป้องกันได้โดยฉีดวัคซีน ป้องกันโรคไข้หัดได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันตั้งแต่อายุ 2 เดือน เป็นเข็ม แรกหลังจากนั้นอีกหนึ่งเดือน ก็พาไปรับการฉีดวัคซีนเข็มที่สอง เป็นการ กระตุ้นภูมิคุ้มกันและฉีดซ้ำทุก ๆ ปี ปีละ 1 ครั้ง
 
2.โรคปอดบวม 
โรคนี้จะพบมากในสุนัขเล็ก ๆ และสุนัขที่มีอายุมากแล้วเนื่องจากว่า สุนัขในวัยดังกล่าวมีภูมิคุ้มกันที่น้อยอยู่โรคนี้เกิดจากหลายสาเหตุได้แก่เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย พยาธิทำลาย ปอด ทำให้ปอดอักเสบ แต่ส่วนใหญ่จะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย สุนัขจะมีอาการซึม มีไข้สูงมาก อาจถึง 106 องศาฟาเรนไฮต์เบื่ออาหาร จนถึงไม่กินอาหาร ชอบหลบไปนอนในที่เย็น ๆ เช่น ห้องน้ำ ข้างโอ่งหายใจกระหืดกระหอบ มีขี้มูกไหลออกมามีสีขาวจนถึงสีเขียวข้น บางครั้งมี อาเจียน ไอ มีเสลดหนาในลำคอบางตัวเป็นมาก ๆน้ำท่วมปอดต้องนั่งตลอดเวลานอนไม่ได้ หายใจไม่ออกบางครั้งต้องหายใจทางปากเนื่องจากจมูกอุดตันไปด้วยน้ำมูก ข้อควรปฏิบัติคือ รักษาความสะอาด ให้ความอบอุ่น โดยเฉพาะที่คอ หน้าอก และหลัง ปูรองพื้นที่นอนด้วยผ้า อย่าให้นอนในที่เย็นหรืออับชื้นหรือโดนฝนสาด และนำสุนัข ไปพบสัตว์แพทย์เพื่อรักษา

3.โรคพาร์โวไวรัส หรือลำไส้อักเสบ 
โรคพาโวไวรัสหรือลำไส้อักเสบเป็นโรคที่มีการระบาดทั่วโลก สามารถเกิดการ ระบาดได้ง่ายรวดเร็วและรุนแรง สุนัขจะตายเนื่องจากเกิด ท้องร่วงอย่างรุนแรง อาเจียนไม่กินอาหาร มีไข้ สูง ร่างกายสูญเสียน้ำมาก ทำให้ตายอย่างรวดเร็วโรคนี้พบมาในสุนัขอายุ 2-6 เดือน หลังจากได้รับเชื้อโรคไปแล้วประมาณ5-7 วัน สุนัขจะไม่กินอาหาร มีไข้สูง ๆ ต่ำๆ แสดงอาการอาเจียนบ่อย ต่อมาไข้ขึ้นสูง นอนซึม หมดแรงเพราะอาเจียนอย่างมาก เริ่มมีอาการท้องร่วง ถ่ายออกมาเป็นน้ำเหลวสีโอวัลตินหรือสีแดง มีเลือดปนออกมามีกลิ่นเหม็นคาวมาก ไวรัสจะ เข้าไปยังกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้ช็อคตายได้อย่างรวดเร็ว โดยปกติโรคนี้ไม่มียารักษาโดยตรง เพียงแต่รักษาตามอาการที่พบเท่านั้น ทางที่ดีควรหา ทางป้องกันจะดีกว่า โดยการฉีดวัคซีนตั้งแต่ลูกสุนัขอายุได้ 2 เดือน และกระตุ้นภูมิคุ้มกันโดยฉีดวัคซีนอีกครั้งเมื่ออายุได้ 3 เดือน หลังจากนั้นก็ฉีดกระตุ้นทุกปี ปีละ1 ครั้ง

4.โรคหัด หรือ ดิสเทมเปอร์ 
โรคไข้หัด หรือดิสเทมเปอร์ เป็นโรคที่ฮิตติดอันดับสำหรับโรคสุนัขโรค หนึ่ง โรคนี้เกิด จากเชื้อไวรัส มักเกิดกับลูกสุนัขอายุน้อย ๆ ตั้งแต่ 2-3 เดือน บางครั้งก็พบว่าเกิดใน สุนัขที่โตแล้วเมื่อสุนัขเป็นโรคนี้โอกาสที่จะหาย นั้น มีน้อยมาก โดยอาการของมันก็แสดงออกมาทางอาการประสาท ตัวกระตุก หรือชักตลอดชีวิตส่วนใหญ่แล้วตาย อย่างทรมาน อาการของโรค เราสามารถสังเกตได้จากการที่สุนัขมีน้ำมูกสีเขียวไหลย้อย ดูเหมือน ปอดบวม มีไข้ เบื่ออาหาร ซึมมีตุ่มหนองขึ้นที่ใต้ท้อง มีขี้ตาสีเขียวๆเกอะกรังตลอดเวลาเมื่ออาการทวีความรุนแรงขึ้นจะพบว่ามีอาการทางประสาท คือปากสั่น กระตุก และลามไปที่บริเวณหนังหัว ใบหน้า ขาหลัง อาจจะพบบริเวณฝ่าเท้า กระด้างขึ้น บางรายพบว่ามีท้องร่วงร่วม เราสามารถป้องกันได้โดยฉีดวัคซีน ป้องกันโรคไข้หัดได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันตั้งแต่อายุ 2 เดือน เป็นเข็ม แรกหลังจากนั้นอีกหนึ่งเดือน ก็พาไปรับการฉีดวัคซีนเข็มที่สอง เป็นการ กระตุ้นภูมิคุ้มกันและฉีดซ้ำทุก ๆ ปี ปีละ 1 ครั้ง 


5.โรคพิษสุนัขบ้า  
-เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ เรบี้ส์ (Rabies) ไวรัสชนิดนี้ชอบอาศัยอยู่ในระบบประสาทมากที่สุด มันจะทำให้สุนัขมีอาการทางประสาท ทำให้เราเรียกว่าบ้า นอกจากสุนัขแล้ว เชื้อไวรัสนี้ยังสามารถติดต่อคน และสัตว์อื่นได้ ถ้าโดนสุนัขที่มีเชื้อกัด อาการสุนัขนี้แบ่ง ออกได้เป็น 2 แบบ คือ/ แบบดุร้าย และ แบบซึม
-อาการซึมของสุนัขจะไม่แสดงอาการดุร้ายออกมานอกจากเราพยายาม จะจับหรือเข้า ใกล้ มันอาจจะขู่หรือกัดได้ สุนัขจะหลบซ่อนตามซอกมุมหรือ ไม่ออกมากินน้ำ อาหาร ลิ้นจะห้อยออกมา น้ำลายไหลตลอดเวลา
-ส่วนอาการแบบดุร้าย สามารถแบ่งออกได้ 3 ระยะ ระยะเริ่มแรกอารมณ์และอุปนิสัยของสุนัขเริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีอารมณ์ หงุดหงิดอุณหภูมิสูงขึ้นเล็กน้อย รูม่านตาจะขยายมากกว่าปกติ อาการเริ่มแรก จะแสดงอาการประมาณ 2-3 วัน จะเริ่มเข้าสู่ระยะที่ 2หรือระยะตื่นเต้นเป็นระยะที่แสดงอาการกระวน กระวาย ระบบประสาทตอบสนองอย่างฉับไวและรุนแรงต่อเสียงหรือสิ่งกระตุ้น ต่อมามันจะเริ่มกระวนกระวาย กัดสิ่งที่อยู่รอบตัว บางครั้งรุนแรงจนเลือดออก แล้วเริ่มวิ่งอย่างไร้จุดหมาย แสดงอาการบ้าอย่างชัดเจน เสียงเห่าหอนผิดปกติ เนื่องจากการเกิดเกิดอัมพาตของ กล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการเคี้ยวและการกลืน ต่อมาอาการอัมพาตจะขยายและเป็นทั้งตัว และตายไปในที่สุด โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายได้เราต้องป้องกันล่วงหน้า โดยการฉีดวัคซีนเมื่อสุนัขอายุ 3เดือนขึ้นไป และฉีดซ้ำทุก ๆ ปี ถ้าเป็นสุนัขที่มีอายุต่ำกว่า 3 เดือน หากนำไปฉีดแล้ว ต้องฉีดซ้ำอีกครั้งเมื่ออายุ 3 เดือน จากนั้นก็ฉีดซ้ำทุก ๆ ปี

6.โรคเห็บหมัดสุนัข  
 อากาศในบ้านเราเหมาะแก่การเจริญเติบโตของเห็บและหมัด เห็บที่อยู่ตามตัว สุนัขสามารถ ไข่ได้ครั้งละหลายพันฟองตามพื้นดิน หรือตามซอกต่าง ๆ เห็บมีอยู่ 2 ประเภท
1.พวกตัวแบนสีน้ำตาล
2.ตัวโตบวมคล้ายลูกเกตุ
ทั้งคู่เป็นชนิดเดียวกัน เพียงแต่พวกแรกเป็นตัวผู้ พวกที่สอง เป็นตัวเมียในตัวเมียจะมีไข่หมัดอยู่เต็ม ต้องห้ามบีบเนื่องจากจะเป็นการทำให้ไข่หมัด แพร่กระจายให้นำหมัดและเห็บแช่ในน้ำมัน จะทำให้มันตาย สุนัขบางตัวจะมีการแพ้น้ำลายเห็บ,หมัดทำให้มีการแพ้ที่ผิวหนังและเห็บ, หมัดยังเป็นพาหะ นำโรคพยาธิในเม็ดเลือดมาแพร่ได้เราจะสามารถพบหมัดได้มากบริเวณ ลำคอ,หู,ง่ามนิ้วเท้า.ไหล่ หน้าอก การป้องกันเห็บ,หมัดทำได้โดยอาศัยยาฆ่าเห็บที่มีขายทั่วไป โดยให้ใส่ที่ตัวสุนัข และบริเวณ ที่สงสัยว่าจะเป็นที่วางไข่และยังมีอุปกรณ์ป้องกันเช่น ปลอกคอกันหมัดและแชมพูอาบน้ำสุนัขก็ ยังสามารถฆ่าเห็บและหมัดได้ด้วย


7.พยาธิไส้เดือน 
พยาธิไส้เดือนหรือที่เรียกกันว่า พยาธิตัวกลมนั้นอาศัยอยู่ในลำไส้สุนัข ขนาด ยาวประมาณ 2-3 นิ้วเราจะพบมากในลูกสุนัข คอยแย่งอาหารที่ได้รับการย่อยแล้ว ทำให้สุนัขไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ สุนัขจะดูท้องโตเหมือนกินอิ่ม บางครั้งพยาธิก็มีมากจนตันลำไส้ทำให้ สุนัขตาย การติดต่อของพยาธิชนิดนี้สามารถติดต่อได้โดยสุนัขกินไข่พยาธิเข้าไป หรือ ถูกชอนไชผ่านทางผิวหนัง พยาธิสามารถติดต่อสู่ลูกสุนัขได้ทางกระแสเลือดของแม่ไปสู่ลูกหรือติดต่อผ่านทาง น้ำนมการป้องกันทำได้โดยถ่ายพยาธิก่อนการผมพันธุ์ และช่วงท้ายของการตั้งท้อง หลังจากลูก เกิดมาได้2-3 อาทิตย์ ก็ให้ถ่ายพยาธิ และถ่ายพยาธิทุก ๆ 2-3 เดือน 


8.พยาธิไส้เดือน 
เป็นอาการโรคทางผิวหนัง โดยอาการของโรคนี้คือ สุนัขมีอาการคันขนร่วงคันตามผิวหนังบางตัวขนกลางหลังจะร่วง หรือร่วงหมดตัวสาเหตุของโรคนี้ เกิดจาก เห็บ หมัด อาการแพ้จากโรคพยาธิหัวใจการขาดฮอร์โมนบางชนิด แต่สาเหตุที่แท้จริงเกิดจากพยาธิผิวหนังเราสามารถให้สัตว์แพทย์ตรวจสอบได้ โดยสัตว์แพทย์จะขูดผิวหนังบริเวณที่เป็นไปตรวจ เพื่อหาสาเหตุ พยาธิที่ทำให้เกิดโรคเรื้อนมีอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น