วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Golden Retriever



Helloooooooo.. มาเจอกันอีกครั้ง ครั้งนี้เราจะมาพูดถึงสัตว์เลี้ยงแสนรักของเราอีกเช่นเคย แต่ครั้งที่แล้วเราพูดถึงน้องหมาพันธ์เล็กพกพาสะดวกอย่างเจ้าชิวาว่าน้อยไปแล้ว คราวนี้ถึงคราวพี่ใหญ่บ้างล้าวววว.. อิอิ จะเป็นพันธ์อะไรน้า ติ๊กต๊อกๆ  ปิ้งงง.. นั้นก้คือ เจ้าโกลเด้น รีทรีฟเวอร์ นั้นเอง เจ้าสุนัขพันธ์โกลเด้นนี้ เป็นสัตว์ที่คนไทยหลายๆคนเลี้ยงไว้เป็นเพื่อนเล่นไม่ต่างจากสุนัขชิวาว่า แต่ต่างกันที่ "ขนาด" ถ้าเอามายืนเทียบกันแล้ว เจ้าชิวาว่าตัวน้อยกลายเป็นขนมเคี้ยวเล่นของพี่โกลเด้นกันไปเลย พูดมาขนาดนี้แล้ว เราไปรู้จัก สุนัขสายพันธ์โกลเด้นรีทรีฟเวอร์กันเลยดีกว่าาาา.. เย้ !!!! 


ประวัติของสุนัขโกลเด้นรีทรีฟเวอร์
          
          โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอังกฤษและสก๊อตแลนด์ โดยมีการบันทึกไว้ในช่วงทศวรรษที่  1860   ซึ่งบันทึกไว้ว่าได้มีคณะละครสัตว์ของรัฐเซีย   ได้นำฝูง สุนัข มาแสดง จนทำให้ท่านลอร์ด  ทวีดมัธ  ( Lord  Tweedmouth ) รู้สึกประทับใจ จึงได้ทำการขอซื้อไว้แล้วนำมาผสมพันธุ์หลายชั่วอายุ  จึงได้สายพันธุ์ โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ ในที่สุด แต่การนำมาผสมกับสายพันธุ์ไหนนั้นยังไม่มีหลักฐานสรุปที่แน่นอน  แต่มีการสันนิษฐานว่า โกลเด้น มีสายเลือดผสมระหว่างสุนัขพันธุ์ Yellow Flat-Coated Retriever และ Light-Coated Tweed Water Spaniels และอาจจะมีสายพันธุ์ของ Newfoundland หรือ Bloodhound ผสมอยู่ด้วย          



          ทั้งนี้ โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ เป็น สุนัข ที่มีความเชี่ยวชาญทางน้ำ โดยแต่เดิมเป็น สุนัข ที่ใช้ในกีฬาล่าสัตว์ นายพรานจะใช้ โกลเด้น ไปเก็บเป็ดน้ำที่ยิงได้กลับมา เนื่องจากมีประสาทสัมผัสดีเลิศทั้งในด้านของการฟังเสียง การดมกลิ่นสะกดรอย นอกจากนี้ โกลเด้น ยังมีสายตาอันเฉียบคมและแม่นยำ ด้วยเหตุนี้วงการทหารและตำรวจในหลายๆ ประเทศจึงได้นำ สุนัขพันธุ์โกลเด้น นี้มาฝึกเพื่อไว้ช่วยงานราชการ อาทิเช่น ตรวจค้นยาเสพติด, ดมกลิ่นสะกดรอยคนร้าย, ยามรักษาความปลอดภัย แต่ที่ดูเหมือนจะได้รับความนิยมสูงสุด ก็เห็นจะได้แก่ฝึกให้เป็น สุนัข นำทางคนตาบอด ทั้งนี้เพราะ โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ เป็นสุนัขฉลาด และสุภาพ

          โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ หรือที่บางคนเรียก เยลโล่ รีทรีฟเวอร์ ( YELLOW RETRIEVER ) เป็นที่รู้จักและนิยมเลี้ยงกันแพร่หลายในประเทศอังกฤษ จนในปี ค.ศ. 1930 โกลเด้น ก็เริ่มเป็นที่นิยมในสหรัฐอเมริกา โดยยุคนั้นชาวอเมริกันส่วนใหญ่จะเลี้ยง โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ ไว้เพื่อเป็นนักล่า 


    ต่อมาในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1977 ได้จัดให้มีการประกวดความสามารถและความฉลาดแสนรู้ของ สุนัข ซึ่งผลปรากฏว่า สุนัข ที่ได้รางวัลที่ 1-3 ล้วนเป็น สุนัขพันธุ์โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ ทั้งสิ้น จากผลการประกวดในครั้งนั้นทำให้ชาวอเมริกันเริ่มเกิดความตื่นตัว และหันมาให้ความสนใจเลี้ยง สุนัขพันธุ์โกลเด้น เป็น สัตว์เลี้ยง กันมากขึ้น






มาตรฐานสายพันธ์ของสุนัขโกลเด้นรีทรีฟเวอร์

ลักษณะทั่วไป : โครงสร้างได้สัดส่วน และดูแข็งแกร่งทรงพลัง เป็นสุนัขที่มีความกระตือรือร้นตลอดเวลา ค่อนข้างสงบเสงี่ยม ไม่ส่งเสียงโดยไม่มีเหตุผล เป็นสุนัขที่มีนิสัยค่อนข้างจะเป็นมิตรกับทุกๆ คน ดังนั้นจึงสามารถพาไปไหนมาไหนโดยไม่สร้างปัญหา มีความเฉลียวฉลาด ว่านอนสอนง่าย เป็นสุนัขที่มีความปราดเปรียวและอดทน ลีลาในการย่างก้าวหรือไหวเป็นไปด้วยความนิ่มนวล


อุปนิสัย : มีความกระตือรือร้นตลอดเวลา ค่อนข้างสงบเสงี่ยม ไม่ส่งเสียงโดยไม่มีเหตุผล มีขนาดปานกลาง ไม่เทอะทะเก้งก้างจนดูเกะกะ
ศีรษะ : กะโหลกใหญ่และกว้างโค้งได้รูปสวยงาม ไม่หยักเป็นร่องลึกหรือโหนกนูนจนมีลักษณะเป็นรูปโดม ช่วงรอยเชื่อมระหว่างจมูก ปาก และหน้าผาก มีความลาดเล็กน้อยแต่ไม่ถึงกับหัก หรือ เชื่อมต่อเป็นเส้นตรงเดียวกัน ใบหน้าลึกและกว้างขนาดพอๆ กับศีรษะ, สันจมูก, ปาก เป็นเส้นตรงเวลามองจากด้านข้างปลายจมูก ปากค่อยๆ ขยายใหญ่ขึ้นรับกับขนาดของกะโหลกศีรษะลักษณะรูปทรงคล้ายลิ่มแลดูแข็งแกร่ง หนังย่นบริเวณหน้าผากอนุโลมให้มีได้ แต่ลักษณะของใบหน้าที่สวยงาม หนังบริเวณใบหน้าควรจะเรียบตึง
ฟัน : ต้องขบกันได้แนบสนิทเหมือนกรรไกร โดยฟันด้านหน้าแถวบนขบเกยอยู่ด้านนอก ซึ่งลักษณะของฟันสำหรับสุนัขพันธุ์โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เนื่องจากเป็นสุนัขที่มีหน้าที่ในการเก็บหรือคาบเหยื่อ ดังนั้นอำนาจในการขบกัดจึงเป็นเรื่องสำคัญ หากสุนัขมีฟันหน้าชุดบนและชุดล่างขบเสมอกันพอดีเหมือนประตูลิฟท์ถือว่าใช้ ไม่ได้ แต่ยังพออนุโลมผ่อนผันให้ได้ เว้นแต่ฟันหน้าชุดล่างขบเกยอยู่ด้านนอก หรือฟันหน้าชุดบนและล่างขบเกยไม่สนิทกันถือเป็นข้อบกพร่องร้ายแรง ถ้าฟันมีคราบหินปูนเกาะ ฟันผุ หรือฟันมีลักษณะเว้าแหว่งถือเป็นข้อบกพร่องร้ายแรงเช่นกัน
จมูก : จะต้องเป็นสีดำหรือสีน้ำตาล ส่วนจะเข้มหรืออ่อนก็ขึ้นอยู่กับสีขน แต่ถ้าจมูกเป็นสีชมพูถือเป็นข้อบกพร่องร้ายแรง
หู : หูควรสั้นพอประมาณ ใบหูมีลักษณะห้อยปกลงแนบกับส่วนแก้ม รูปทรงค่อนไปทางรูปสามเหลี่ยม ปลายมน เวลาดึงใบหูไปด้านหน้าความยาวของใบหู หูควรปกคลุมลูกตาได้พอดี แต่ถ้าหากฐานใบหูตั้งอยู่ในตำแหน่งต่ำเกินไป หรือหูมีลักษณะเหมือนสุนัขในกลุ่มฮาวน์ หรือดัชชุน ถือเป็นข้อบกพร่อง
ลำคอ : ควรยาวพอประมาณ ลำคอควรตั้งบนหัวไหล่ แลดูมั่นคงกล้ามเนื้อแลเห็นเด่นชัด ขนบริเวณรอบคอห้ามมีการตกแต่ง คอต้องไม่มีเหนียงยื่นโผล่ออกมา
ลำตัว : โครงสร้างลำตัวกระชับได้สัดส่วน อกลึกและกว้าง ความกว้างของอกอย่างน้อยควรมีขนาดพอๆ กับ ฝ่ามือของผู้ชายวางทาบเสมอพอดี ส่วนความลึกของอกควรลึกเสมอข้อศอกขาหน้า กระดูกซี่โครงควรโค้งได้รูปแข็งแรง โดยส่วนแผ่นหลังจะแลดูหนากว่าใต้ท้อง ลำตัวเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ มีความลึกและหนาแลดูบึกบึน แผ่นหลังเรียบตรง โดยมีลักษณะลาดเทจากหัวไหล่ ไปทางบั้นท้ายเล็กน้อยไม่ว่าจะเป็นเวลายืนนิ่งๆ หรือกำลังเคลื่อนไหว โกลเด้น รีทรีฟเวอร์มีหน้าอกเล็กแคบ อกตื้น เส้นหลังแอ่นหรือลาดเทมากเกินไป หรือก้นโด่ง ลำตัวบอบบางเกินไป เวลาเคลื่อนไหวเส้นหลังแกว่ง แลดูขาดความแข็งแกร่งล้วนเป็นข้อบกพร่อง
อุ้งเท้า : มีขนาดปานกลาง เป็นรูปทรงกลม อุ้งเท้ากระชับ นิ้งเท้าไม่กางแบะออกเหมือนตีนเป็ด ขนบริเวณใต้อุ้งเท้าควรได้รับการขลิบออก เพื่อช่วยให้การยึดเกาะมั่นคงยิ่งขึ้น นิ้วติ่งขาหน้าควรกำจัดออกให้หมด แต่โดยปกติจะไม่ค่อยปรากฏนิ้งติ่งให้เห็น โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ เวอร์ที่มีอุ้งเท้าแบะหรืออุ้งเท้าแหลมคล้ายอุ้งเท้าของกระต่าย ถือเป็นข้อบกพร่อง
หาง : ควรตั้งอยู่ในตำแหน่งสูงสุดต่อจากเส้นหลัง หางมีขนาดใหญ่โดยเฉพาะบริเวณโคนหางควรจะมีกล้ามเนื้อ ปกติหางจะมีลักษณะห้อยลงต่ำโค้งได้รูปกับสะโพก ความยาวของหางพอๆ กับมุมข้อศอกขาหลัง ในยามที่สุนัขที่ดีใจหางจะโบกสะบัดไปมา บางครั้งอาจงอม้วนขึ้นสูงเหนือระดับแผ่นหลัง
ลำตัวหน้า : เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ มีขนาดเหมาะสมรับกับลำตัวส่วนหลังขณะที่เดินหรือวิ่ง การก้าวย่างเป็นไปอย่างอิสระ การก้างย่างของขาอยู่ในแนวเดียวกับรัศมีของหัวไหล่ กระดูกขามีขนาดค่อนข้างใหญ่และเหยียดตรง กระดูกข้อเท้าสั้นและแข็งแรง มีความลาดเอียงเพียงเล็กน้อย
ลำตัวหลัง : หนาและแข็งแรง เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ บั้นท้ายมีลักษณะลาดเทเล็กน้อย กระดูกขาท่อนบนทอดไปทางด้านหลัง ส่วนกระดูกขาท่อนล่างเหยียดตรงทำมุมฉากกับพื้น โดยขาท่อนล่าง(แข้ง)ยิ่งมีขนาดสั้นเท่าไหร่ยิ่งดี
ขน : ขนดกแน่น สามารถปกป้องน้ำได้เป็นอย่างดี ขนมี 2 ชั้น ขนชั้นนอกจะยาวและมีลักษณะค่อนข้างแข็ง แต่ไม่ถึงกับหยาบกระด้าง เส้นขนมีความยืดหยุ่นในตัว ถ้าหากขนมีลักษณะเส้นเล็กหรือไม่ดกแน่นถือเป็นข้อบกพร่อง ลักษณะของขนที่ถูกต้องจะต้องขึ้นแนบติดลำตัว ส่วนเส้นขนจะเหยียดตรงหรือหยักศกเล็กน้อยไม่เป็นข้อบกพร่อง สำหรับขนบริเวณด้านหลังของขาและใต้ท้องจะมีลักษณะค่อนข้างอ่อนนุ่มกว่าขนตาม ลำตัว โดยเฉพาะขนที่บริเวณใต้คอ ด้านหลังของต้นขาหลัง และขนใต้หาง จะมีลักษณะอ่อนนุ่มเป็นพิเศษ ส่วนขนบริเวณศีรษะ ด้านหน้าของขา(หน้าแข้ง) และเท้าจะมีลักษณะสั้นและเรียบ โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ที่มีเส้นขนยาวจนเกินไป ขนฟูเป็นกระเซิงไม่แนบติดกับลำตัว หรือมีขนเบาบางไม่ดกแน่น ขนเส้นเล็กล้วนถือเป็นข้อบกพร่อง การตัดแต่งขนจะตัดเฉพาะอุ้งเท้าเท่านั้น
สี สีต้องเป็นสีน้ำตาลออกทอง ส่วนจะมีสีเข้มอ่อนไม่มีปัญหา ขนตามใบหน้าและลำตัวอาจจะมีเหลือบเทาหรือขาวก็ได้ แต่ถ้าเป็นรอยแต้มด่างสีขาว หรือมีขนสีขาวขึ้นแซมถือเป็นข้อบกพร่อง ยกเว้นโกลเด้น รีทรีฟเวอร์ที่มีขนสีทองอ่อน ซึ่งมีสีจืดหรือจางมากๆ และสีขาวด่างที่ปรากฏแลดูกลมกลืนกับสีขน ก็ถือเป็นข้ออนุโลม และถ้าหากพื้นที่ของสีขนส่วนใหญ่มีสีซีดจางเกินไป หรือเข้มมากเกินไปก็ถือว่าเป็นข้อบกพร่อง พูดง่ายๆ ก็คือ ถามีขนออกไปทางโทนสีครีมอ่อนๆ หรือสีน้ำตาลไหม้ ขนส่วนนี้จะต้องมีพื้นที่เป็นเพียงส่วนน้อยของขนทั้งหมด คือจะต้องมีโทนสีเข้มกว่าหรืออ่อนกว่ามาช่วยเสริม และสีขนส่วนที่จะมาช่วยเสริมต้องครอบคลุมพื้นที่ได้มากกว่า โกลเด้น รีทรีฟเวอร์บางสายพันธุ์ขณะที่ยังเป็นลูกสุนัขอาจจะมีสีซีดจาง แต่เมื่อโตขึ้นสีก็จะเข้มขึ้นโดยธรรมชาติ สำหรับโกลเด้น รีทรีฟเวอร์ที่มีสีอ่อน นอกเหนือจากที่กล่าวมาล้วนถือเป็นข้อบกพร่องร้ายแรง
การเคลื่อนไหว : การก้าวย่างเป็นไปอย่างอิสระ แลดูนุ่มนวลแต่ทรงพลังและสง่างาม เวลาที่วิ่ง ระยะการย่างก้าวของขาหน้าและขาหลังจะต้องมาบรรจบกันที่กึ่งกลางลำตัว เวลาเดินหรือวิ่งขาต้องไม่แกว่งหรือปัด ซึ่งในการประกวดการเคลื่อนไหวของโกลเด้น รีทรีฟเวอร์ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก
ขนาด : เพศผู้ควรมีความสูงระหว่าง 23-24 นิ้ว(ความสูงวัดที่หัวไหล่ขาหน้า) ส่วนเพศเมียควรมีความสูงอยู่ในช่วงระหว่าง 21-22 นิ้ว หากความสูงน้อยกว่าหรือมากกว่ามาตรฐานที่กำหนดไม่เกิน 1 นิ้ว ถือเป็นข้ออนุโลม แต่ถ้าสูงหรือเตี้ยกว่าเกิน 1 นิ้ว จากเกณฑ์มาตรฐานถือเป็นข้อบกพร่องร้ายแรงมาก สำหรับความยาวของลำตัวโดยวัดจากหน้าอกถึงบั้นท้าย ควรมีสัดส่วนความยาวมากกว่าความสูงเล็กน้อย คือ สัดส่วน 12 :11 ส่วนน้ำหนักของสุนัขเพศผู้ควรอยู่ในช่วงระหว่าง 65-75 ปอนด์ สำหรับเพศเมีย 55-56 ปอนด์
อารมณ์ : ควรมีความเป็นมิตรกับทุกๆ คน ไม่มีนิสัยขี้หวาดระแวงและดูน่าเชื่อไว้วางใจได้ ไม่มีนิสัยก้าวร้าวดุร้าย แต่ก็ไม่ขี้ขลาดตาขาวด้วย


โรคที่พบบ่อยในสุนัขโกลเด้นรีทรีฟเวอร์

1. โรคผิวหนัง

     สุนัขขนยาวอย่างโกลเด้นรีทรีฟเวอร์ คงหนีไม่พ้นต้องมีโรคทางผิวหนังกับเขาเหมือนกัน ด้วยนิสัยที่ลุย ๆ ชอบคลุกดิน เล่นน้ำ ประกอบกับภูมิอากาศร้อนชื้นในบ้านเรา หากเจ้าของละเลยเรื่องการดูแลรักษาความสะอาด ปล่อยไว้นานวันเข้า ก็อาจทำให้เจ้าโกลเด้นฯ ของเรา ป่วยเป็นโรคผิวหนังได้ เห็นน้องหมาโกลเด้นฯ ตัวใหญ่แรงเยอะอย่างนี้ ความจริงแล้วกลับเป็นสุนัขที่มีผิวหนังที่บอบบางและแพ้ง่าย ซึ่งโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในน้องหมาพันธุ์นี้ ก็ได้แก่

     ภูมิแพ้ละอองอากาศหรือภูมิแพ้จากการสูดดม เป็นภาวะภูมิไวเกินประเภทที่ I ซึ่งเกิดจากการได้รับสารก่อภูมิแพ้ (allergens) ผ่านการสูดดมเอาละอองในอากาศหรือสิ่งแวดล้อมเข้าไป นอกจากนี้ยังรวมถึงการสัมผัสผ่านผิวหนังหรือการกินเข้าไปด้วย ซึ่งสารก่อภูมิแพ้ดังกล่าวก็มีมากมายหลายอย่าง เช่นละอองเกสร ไรฝุ่น ขนสัตว์ ซากแมลง สปอร์ของเชื้อรา สะเก็ดผิวหนังของคนและสัตว์ ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอนุภาคเล็ก จนบางครั้งเราก็อาจมองไม่เห็น

     ซึ่งน้องหมาที่เป็นจะแสดงอาการคัน โดยเฉพาะบริเวณฝ่าเท้า อุ้งเท้า ใต้คาง รอบปาก รอบตา ใบหู รักแร้ และหน้าท้อง ตลอดจนแสดงอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีรอยแดง ขนร่วง มีสะเก็ด รังแค ผิวหนังแห้งหนาตัว ในรายที่มีการติดเชื้อแทรกซ้อน เช่น เชื้อยีสต์ เชื้อแบคทีเรีย ฯลฯ ก็อาจจะพบผิวหนังอักเสบมันเยิ้ม เกิดเป็น Hot spots มีกลิ่นตัว หูอักเสบ เยื่อบุตาอักเสบ ริมฝีปากอักเสบ (cheilitis) และเกิดผิวหนังอักเสบเป็นหนองตามมาได้ด้วย

     โรคช่องหูอักเสบ เป็นอีกโรคสำคัญมากในน้องหมาพันธุ์โกลเด้นฯ ส่วนหนึ่งเกิดจากสาเหตุที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ (atopic dermatitis) อยู่แล้ว จึงมักทำให้เกิดโรคนี้อยู่บ่อย ๆ ส่วนสาเหตุรองก็เกิดจากการที่เราละเลย การดูแลทำความสะอาดช่องหูอย่างถูกวิธีต่อเนื่องเป็นประจำ ทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อยีสต์ตามมา ยิ่งในรายที่มีปัจจัยโน้มนำอย่างการมีขนในรูหู รูหูมีลักษณะตีบแคบ ความชื้นในรูหูที่มีมากเกินไปด้วยแล้ว ยิ่งทำให้เกิดโรคนี้ง่ายกว่าสุนัขตัวอื่น ๆ ยิ่งเข้าไปใหญ่


2. โรคระบบต่อมไร้ท่อ

     ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine gland system) เป็นต่อมที่มีการสร้างสารที่ออกฤทธิ์ควบคุมการทำงานในร่างกาย ซึ่งสารที่สร้างออกมานี้ จะถูกลำเลียงผ่านกระแสเลือดไปออกยังอวัยวะเป้าหมายที่จำเพาะ โดยไม่มีเส้นทางลำเลี้ยงเป็นท่อของตัวเอง จึงเรียกระบบนี้ว่า ระบบต่อมไร้ท่อ ซึ่งสารที่ต่อมสร้างก็ได้แก่ พวกฮอร์โมนต่าง ๆ นั่นเอง ในร่างกายของน้องหมาจะมีต่อมไร้ต่ออยู่หลายแห่ง และแต่ละแห่งก็สร้างฮอร์โมนที่ต่างกันไป



     ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ (Hypothyroidism) ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่บริเวณลำคอ มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอกซิน (T4) และ ไตรไอโอโดไทโรนีน (T3) ไว้ช่วยในการควบคุมการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย จากการเก็บข้อมูลของ Orthopedic Foundation for Animals หรือ O.F.A. พบว่าน้องหมาพันธุ์โกลเด้นฯ ป่วยเป็นโรคภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ ประมาณ 4.9% แต่ในการสำรวจของสมาคม Golden Retriever Club of America (GRCA) ในปี ค.ศ. 1998-1999 กลับพบสุนัขพันธุ์โกลเด้นป่วยด้วยโรคนี้สูงถึง 1 ใน 4 เลยทีเดียว ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของตัวต่อมไทรอยด์เอง (Primary Hypothyroidism)

     บางรายมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป เช่น เชื่องช้า เซื่องซึม อ่อนแรง เหนื่อยง่าย และอยากนอนมากกว่าปกติ แต่บางรายอาจก้าวร้าวมากขึ้น เนื่องจากการควบคุมสมดุลของสารซีโรโทนิน (serotonin) เสียไป ซีโรโทนินเป็นสารสื่อประสาท มีบทบาทควบคุมอารมณ์ ความโกรธและความก้าวร้าว หากซีโรโทนินในร่างกายน้อย ย่อมส่งผลทำให้น้องหมาก้าวร้าวขึ้นได้


3. โรคมะเร็ง


     โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ ของน้องหมาพันธุ์โกลเด้นรีทรีฟเวอร์เลยก็ว่าได้ จากการสำรวจของสมาคม Golden Retriever Club of America (GRCA) ในปี ค.ศ. 1998-1999 พบว่า ชนิดของมะเร็งที่พบมากที่สุด 4 ลำดับแรกในสุนัขพันธุ์โกลเด้นฯ คือ มะเร็งในหลอดเลือด (Hemangiosarcoma) มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphosarcoma) มะเร็งผิวหนังชนิด Mast cell tumor และมะเร็งกระดูกชนิด osteosarcoma ตามลำดับ แต่ในสหราชอาณาจักร กลับพบว่าน้องหมาพันธุ์โกลเด้นฯ เป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) มากที่สุด ซึ่งแนวโน้มการเป็นโรคมะเร็งของน้องหมาพันธุ์นี้นั้น พบว่ามีอุบัติการณ์เพิ่มมากขึ้นทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นในสหรัฐอเมริกา แคนาคา สหราชอาณาจักร เดนมาร์ก และออสเตรเลีย  โดยช่วงอายุที่พบบ่อยที่สุด คืออายุ 8-12 ปี เรามาทำความรู้จักกับโรคมะเร็งที่พบบ่อยในน้องหมาพันธุ์โกลเด้นฯ ทีละชนิดกันเลยดีกว่า
     มะเร็งชนิดนี้พบได้ในสุนัขพันธุ์โกลเด้นรีทรีฟเวอร์ถึง 18.7% หรือ ประมาณ 1 ใน 5 เลยทีเดียว โดยอายุเฉลี่ยที่พบ คือ ประมาณ 10.3 (+/- 2.3) ปี และเนื่องด้วยเป็นมะเร็งที่เกิดกับเซลล์ของหลอดเลือด (endothelial cells) จึงทำให้สามารถพบได้ในอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย โดยอวัยวะที่พบได้บ่อยที่สุด คือ ม้าม นอกจากนี้ยังพบได้ใน หัวใจ ตับ ปอด สมอง และผิวหนัง ซึ่งเรียกว่า cutaneous hemangiosarcoma แต่หากพบในอวัยวะภายในร่างกาย เราจะเรียกว่า visceral hemangiosarcoma
     น้องหมาที่เป็นมะเร็งชนิดนี้ส่วนใหญ่จะเกิดกับอวัยวะภายในร่างกาย เจ้าของจึงมักไม่ทราบถึงความผิดปกติด้วยตาเปล่า สุนัขบางรายอาจมีช่องท้องโตขึ้นหรือน้ำหนักตัวลดลงเท่านั้น จนเมื่อก้อนมะเร็งมีขนาดโตมากขึ้น จนไปกดเบียดอวัยวะอื่น ๆ รบกวนการใช้ชีวิต ทำให้ร่างกายไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ สุนัขจึงแสดงอาการซึม ไม่กินอาหาร อ่อนแรง เหงือกซีด หายใจลำบาก บางรายก้อนมะเร็งใหญ่มากจนแตก อวัยวะเกิดการฉีกขาด พบเลือดออกในร่างกาย และอาจเสียชีวิตได้แบบเฉียบพลันได้

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphosarcoma หรือ Lymphoma)
     มะเร็งต่อมน้ำเหลืองเป็นมะเร็งที่พบได้ทั้งในคนและในสัตว์หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นหมาหรือแมว ซึ่งในน้องหมาพันธุ์โกลเด้นฯ พบมะเร็งชนิดนี้ 11.5% (ประมาณ 1 ใน 8) โดยอายุเฉลี่ยที่พบ คือ ประมาณ 8.5 (+/- 2.9) ปี เจ้าของจะสังเกตพบว่า น้องหมาจะมีการบวมโตของต่อมน้ำเหลืองในตำแหน่งต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ที่พบได้บ่อยก็อย่างเช่น ต่อมน้ำเหลืองใต้กรามล่าง รักแร้ อก โคนขาหนีบ ต้นขาหลังด้านท้าย ช่องท้อง เป็นต้น ในรายที่เป็นระดับรุนแรง อาจพบการแพร่กระจายไปได้ทั่วตัว และเข้าไปยังอวัยวะภายในอื่น ๆ เช่น ตับ ม้าม หรือไขกระดูกได้ด้วย
     มะเร็งผิวหนังชนิด Mast cell tumor พบได้ในน้องหมาพันธุ์โกลเด้นรีทรีฟเวอร์ 8.2% หรือประมาณ 1 ใน 13 โดยอายุเฉลี่ยที่พบ คือ ประมาณ 10.5 (+/- 2.1) ปี สำหรับมะเร็งชนิดนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของ mast cell ซึ่งปกติจะพบได้ในขบวนการแพ้ต่าง ๆ ของร่างกาย พัฒนาจนกลายเป็นเซลล์มะเร็ง เจ้าของจะสังเกตพบว่า น้องหมาจะมีเม็ดตุ่มเล็ก ๆ ตามผิวหนัง ลักษณะยืดหยุ่นไม่แข็งเป็นไต แล้วต่อมาก้อนดังกล่าว พัฒนาโตขึ้นอย่างรวดเร็วกลายเป็นก้อนเนื้องอกสีแดง ๆ และเกิดการอักเสบขึ้น น้องหมาจะแสดงอาการคันบริเวณดังกล่าวรุนแรง เนื่องจากเกิดการหลั่ง Histamine ออกมา
มะเร็งกระดูกชนิด osteosarcoma    
     มะเร็งกระดูกชนิด osteosarcoma ส่วนมากพบในสุนัขพันธุ์ใหญ่ อาทิเช่น ร๊อตไวเลอร์ เซนต์ เบอร์นาร์ด เกรทเดน โดเบอร์แมน พินเชอร์ ไอริส เซตเตอร์ และเยอรมัน เชฟเพิร์ด ส่วนในน้องหมาพันธุ์โกลเด้นฯ นั้นพบอยู่ 5.2% (ประมาณ 1 ใน 20) โดยอายุเฉลี่ยที่พบ คือ ประมาณ 9.7 (+/- 3.1) ปี ซึ่งมะเร็งกระดูกที่เจ้าของส่วนใหญ่สังเกตพบ มักเป็นตำแหน่งกระดูกระยางค์ (ขา) ทำให้มีการสลาย และ/หรือสร้างกระดูกมากไป จนเนื้อเยื่อรอบข้างเกิดการบวม ซึ่งทำให้น้องเจ็บปวดทรมานและอาจทำให้กระดูกเกิดการหักตามมาได้ ที่สำคัญมะเร็งกระดูกยังสามารถแพร่กระจาย โดยผ่านกระแสเลือดไปยัง ปอด ไต ตับ ม้าม ฯลฯ ได้ด้วย


ภาวะภูมิแพ้ละอองอากาศ (Atopy, Atopic dermatitis) 
     การป้องกันนอกจะต้องหมั่นดูแลรักษาความสะอาดแล้วอย่างเต็มที่แล้ว การจัดการทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัย ระมัดระวังการพาออกไปนอกบ้าน เพื่อลดการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ อาบน้ำโดยเลือกใช้แชมพูสูตร hypoallergenic หรือสูตรที่คุณหมอแนะนำเป็นประจำ เพื่อชำระล้างสารก่อภูมิแพ้ที่อาจอยู่บนตัวออก และช่วยกำจัดสิ่งสกปรกหรือเชื้อก่อโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ตลอดจนปรับสูตรอาหารหรือเสริมสารอาหารที่จำเป็นต่อผิวหนังให้น้องหมา อย่างเช่น โอเมก้า-3 (eicosapentaenoic acid) โอเมก้า -6 (Linoleic acid) เป็นต้น ก็จะสามารถช่วยน้องหมาได้ แต่สำหรับในรายที่คันมาก ๆ แนะนำให้พาไปตรวจก่อน เพื่อจะได้รักษาอย่างถูกต้องต่อไป
 โรคช่องหูอักเสบ (Otitis)
     ซึ่งน้องหมาที่เป็นจะแสดงอาการคันหู บางตัวเอาขาหลังมาเกาหู เอาหูถูไถกับพื้นหรือฝาหนัง สะบัดหัวให้เราเห็นบ่อย ๆ บางตัวสะบัดหัวและเกาหูมากจนเกินไป เป็นเหตุให้เส้นเลือดในใบหูแตก ใบหูบวมโต เพราะเกิดเลือดคั่งข้างใน เรียกว่า aural hematoma บางรายมีกลิ่นหูเหม็นรุนแรง ใบหูด้านในอักเสบแดง หนาตัว และมีสะเก็ด รังแค มันเยิ้ม เกิดหูน้ำหนวก ซึ่งหากเราใช้มือบีบบริเวณฐานใบหูของน้องหมา เราอาจจะได้ยินเสียงคล้ายน้ำกระฉอกไปมาในรูหู ซึ่งน้องหมาบางตัวอาจร้อง เพราะเจ็บปวดจากการอักเสบอยู่ด้วยก็ได้
     ปัญหาของระบบต่อมไร้ท่อที่พบในน้องหมาส่วนใหญ่ก็คือ การสร้างฮอร์โมนออกมามากเกินไปหรือน้อยเกินไป ทำให้ระบบการทำงานของร่างกายเกิดปัญหา ซึ่งโรคระบบต่อมไร้ท่อที่มักพบในน้องหมาพันธุ์โกลเด้นรีทรีฟเวอร์ก็ ได้แก่
     น้องหมาที่เป็นจะแสดงอาการได้หลากหลาย เช่น พบว่าน้องหมาจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น (อ้วนขึ้น) ทั้ง ๆ ที่กินอาหารตามปกติ มีปัญหาที่ผิวหนังและเส้นขน โดยพบว่าน้องหมามีขนร่วง โดยร่วงแบบสมมาตร (ลำตัวซ้าย-ขวาขนร่วงเท่ากัน) มีขนที่หางร่วงหรือบางลง จนมีลักษณะคล้ายกับหางของหนูบ้าน ผิวหนังบริเวณใบหน้า หน้าผาก หนาตัว เห็นเป็นรอยย่น บริเวณเปลือกตาบนย้อยลงมา เราเรียกลักษณะหน้าตาเช่นนี้ว่า tragic facial expression หรือ tragic face syndrome
     น้องหมาที่ป่วยเป็นภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ จะต้องทำการรักษาด้วยเสริมฮอร์โมนไทรอกซินเข้าไป โดยคุณหมออาจจะให้ป้อนวันละ 1-2 ครั้ง แล้วแต่กรณี แต่ยาจะออกฤทธิ์ดีเมื่อเจ้าของทำการป้อนให้ในขณะที่ท้องว่าง จึงแนะนำให้ป้อนก่อนอาหารอย่างน้อย 30 นาที ซึ่งถ้ามีการตอบสนองต่อการรักษาดี อาการน้องหมาจะค่อย ๆ ดีขึ้นภายใน 1-2 เดือน จากนั้นก็จึงมีการปรับลดระดับยาให้เหมาะสมต่อไปครับ เพื่อน ๆ  ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ในบทความ น้องหมาของเราป่วยเป็นภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำหรือเปล่า

 มะเร็งในหลอดเลือด (Hemangiosarcoma หรือ HSA)
     โชคร้ายที่น้องหมาเมื่อเป็นมะเร็งชนิดนี้ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถใช้การรักษาโดยการผ่าตัด ให้เคมีบำบัด ตลอดจนการจัดการรักษาทางเลือกต่าง ๆ เช่น โภชนาการบำบัด และสมุนไพรต่าง ๆ ร่วมกับการให้การรักษาแบบประคับประคองอาการ สามารถช่วยยืดอายุได้ประมาณ 3-6 เดือน (หรือมากกว่า) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของอวัยวะที่เกิดด้วย โดยพบว่าในรายที่พบมะเร็งที่ผิวหนัง พยากรณ์โรคจะดีกว่าพบในอวัยวะอื่น ๆ ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุด คือ การพาน้องหมาเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างละเอียดเป็นประจำได้ตั้งแต่อายุ 6 ปีขึ้นไป ซึงหากพบตั้งแต่เนิ่น ๆ จะได้รับทำการรักษาเพื่อลดการแพร่กระจาย อันจะเป็นการช่วยยืดชีวิตน้องหมาให้ยาวนานมากขึ้น
การรักษา มีทั้งการผ่าตัด (เฉพาะในรายที่เป็นแบบจำกัด ไม่พบการแพร่กระจาย) และการรักษาโดยใช้เคมีบำบัด ซึ่งเป็นวิธีที่คุณหมอส่วนใหญ่มักเลือกใช้ โดยมีอยู่หลายรูปแบบด้วยกัน ทั้งยาฉีดเข้าเส้นเลือด ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง หรือยากิน ซึ่งอาจใช้ระยะเวลาการรักษาแตกต่างกันไป เพื่อจำกัดการแพร่กระจายและลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำใหม่ ยกเว้นในรายที่เป็นระยะสุดท้าย (ระยะที่ 5) ซึ่งมีการแพร่เข้าสู่ไขกระดูกและระบบประสาทแล้ว จะไม่สามารถกำจัดได้หมดแล้ว แต่การรักษาจะสามารถช่วยยืดชีวิตน้องหมาออกไปได้ประมาณ 3-12 เดือน 
มะเร็งผิวหนังชนิด Mast cell tumor
     เมื่อน้องหมาได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งชนิดนี้แล้ว จะต้องรีบทำการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออก เพื่อลดการแพร่กระจาย บางรายคุณหมออาจพิจารณาให้การรักษาทางเคมีบำบัดร่วมด้วย ในรายที่พบตั้งแต่ก้อนเล็ก ๆ ไม่พบการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองหรือปอด การพยากรณ์โรคจะดีกว่า แต่เจ้าของก็ควรพาน้องหมาเข้ารับการตรวจเป็นประจำ เพื่อเฝ้าระวังการกลับมาเป็นซ้ำอีกในอนาคต
     เมื่อตรวจพบว่าเป็นมะเร็งกระดูก ส่วนใหญ่มักจะแนะนำให้ทำการผ่าตัดขาข้างที่เป็นออก เพื่อช่วยลดความเจ็บปวด ทรมาน และผลที่จะเกิดกระดูกหักตามมา แล้วอาจทำการรักษาต่อร่วมกับวิธีทางเคมีบำบัด ฉายรังสี หรือวิธี immunotherapy ซึ่งสามารถช่วยยืดอายุน้องหมาออกไปได้ประมาณ 3-6 เดือนหรือมากกว่า ซึ่งพบว่า 35-50% ของสุนัขที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดร่วมกับเคมีบำบัด สามารถมีชีวิตอยู่ได้ถึง 1 ปี แต่หากไม่ได้รับการรักษาใด ๆ เลย น้องหมาจะเสียชีวิตใน 2-4 เดือนโดยประมาณ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น