Helloooooooo.. มาเจอกันอีกครั้ง ครั้งนี้เราจะมาพูดถึงสัตว์เลี้ยงแสนรักของเราอีกเช่นเคย แต่ครั้งที่แล้วเราพูดถึงน้องหมาพันธ์เล็กพกพาสะดวกอย่างเจ้าชิวาว่าน้อยไปแล้ว คราวนี้ถึงคราวพี่ใหญ่บ้างล้าวววว.. อิอิ จะเป็นพันธ์อะไรน้า ติ๊กต๊อกๆ ปิ้งงง.. นั้นก้คือ เจ้าโกลเด้น รีทรีฟเวอร์ นั้นเอง เจ้าสุนัขพันธ์โกลเด้นนี้ เป็นสัตว์ที่คนไทยหลายๆคนเลี้ยงไว้เป็นเพื่อนเล่นไม่ต่างจากสุนัขชิวาว่า แต่ต่างกันที่ "ขนาด" ถ้าเอามายืนเทียบกันแล้ว เจ้าชิวาว่าตัวน้อยกลายเป็นขนมเคี้ยวเล่นของพี่โกลเด้นกันไปเลย พูดมาขนาดนี้แล้ว เราไปรู้จัก สุนัขสายพันธ์โกลเด้นรีทรีฟเวอร์กันเลยดีกว่าาาา.. เย้ !!!!
ประวัติของสุนัขโกลเด้นรีทรีฟเวอร์
โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอังกฤษและสก๊อตแลนด์ โดยมีการบันทึกไว้ในช่วงทศวรรษที่ 1860 ซึ่งบันทึกไว้ว่าได้มีคณะละครสัตว์ของรัฐเซีย ได้นำฝูง สุนัข มาแสดง จนทำให้ท่านลอร์ด ทวีดมัธ ( Lord Tweedmouth ) รู้สึกประทับใจ จึงได้ทำการขอซื้อไว้แล้วนำมาผสมพันธุ์หลายชั่วอายุ จึงได้สายพันธุ์ โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ ในที่สุด แต่การนำมาผสมกับสายพันธุ์ไหนนั้นยังไม่มีหลักฐานสรุปที่แน่นอน แต่มีการสันนิษฐานว่า โกลเด้น มีสายเลือดผสมระหว่างสุนัขพันธุ์ Yellow Flat-Coated Retriever และ Light-Coated Tweed Water Spaniels และอาจจะมีสายพันธุ์ของ Newfoundland หรือ Bloodhound ผสมอยู่ด้วย
ทั้งนี้ โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ เป็น สุนัข ที่มีความเชี่ยวชาญทางน้ำ โดยแต่เดิมเป็น สุนัข ที่ใช้ในกีฬาล่าสัตว์ นายพรานจะใช้ โกลเด้น ไปเก็บเป็ดน้ำที่ยิงได้กลับมา เนื่องจากมีประสาทสัมผัสดีเลิศทั้งในด้านของการฟังเสียง การดมกลิ่นสะกดรอย นอกจากนี้ โกลเด้น ยังมีสายตาอันเฉียบคมและแม่นยำ ด้วยเหตุนี้วงการทหารและตำรวจในหลายๆ ประเทศจึงได้นำ สุนัขพันธุ์โกลเด้น นี้มาฝึกเพื่อไว้ช่วยงานราชการ อาทิเช่น ตรวจค้นยาเสพติด, ดมกลิ่นสะกดรอยคนร้าย, ยามรักษาความปลอดภัย แต่ที่ดูเหมือนจะได้รับความนิยมสูงสุด ก็เห็นจะได้แก่ฝึกให้เป็น สุนัข นำทางคนตาบอด ทั้งนี้เพราะ โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ เป็นสุนัขฉลาด และสุภาพ
โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ หรือที่บางคนเรียก เยลโล่ รีทรีฟเวอร์ ( YELLOW RETRIEVER ) เป็นที่รู้จักและนิยมเลี้ยงกันแพร่หลายในประเทศอังกฤษ จนในปี ค.ศ. 1930 โกลเด้น ก็เริ่มเป็นที่นิยมในสหรัฐอเมริกา โดยยุคนั้นชาวอเมริกันส่วนใหญ่จะเลี้ยง โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ ไว้เพื่อเป็นนักล่า
ต่อมาในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1977 ได้จัดให้มีการประกวดความสามารถและความฉลาดแสนรู้ของ สุนัข ซึ่งผลปรากฏว่า สุนัข ที่ได้รางวัลที่ 1-3 ล้วนเป็น สุนัขพันธุ์โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ ทั้งสิ้น จากผลการประกวดในครั้งนั้นทำให้ชาวอเมริกันเริ่มเกิดความตื่นตัว และหันมาให้ความสนใจเลี้ยง สุนัขพันธุ์โกลเด้น เป็น สัตว์เลี้ยง กันมากขึ้น
มาตรฐานสายพันธ์ของสุนัขโกลเด้นรีทรีฟเวอร์
ลักษณะทั่วไป : โครงสร้างได้สัดส่วน และดูแข็งแกร่งทรงพลัง เป็นสุนัขที่มีความกระตือรือร้นตลอดเวลา ค่อนข้างสงบเสงี่ยม ไม่ส่งเสียงโดยไม่มีเหตุผล เป็นสุนัขที่มีนิสัยค่อนข้างจะเป็นมิตรกับทุกๆ คน ดังนั้นจึงสามารถพาไปไหนมาไหนโดยไม่สร้างปัญหา มีความเฉลียวฉลาด ว่านอนสอนง่าย เป็นสุนัขที่มีความปราดเปรียวและอดทน ลีลาในการย่างก้าวหรือไหวเป็นไปด้วยความนิ่มนวล
อุปนิสัย : มีความกระตือรือร้นตลอดเวลา ค่อนข้างสงบเสงี่ยม ไม่ส่งเสียงโดยไม่มีเหตุผล มีขนาดปานกลาง ไม่เทอะทะเก้งก้างจนดูเกะกะ
ศีรษะ : กะโหลกใหญ่และกว้างโค้งได้รูปสวยงาม ไม่หยักเป็นร่องลึกหรือโหนกนูนจนมีลักษณะเป็นรูปโดม ช่วงรอยเชื่อมระหว่างจมูก ปาก และหน้าผาก มีความลาดเล็กน้อยแต่ไม่ถึงกับหัก หรือ เชื่อมต่อเป็นเส้นตรงเดียวกัน ใบหน้าลึกและกว้างขนาดพอๆ กับศีรษะ, สันจมูก, ปาก เป็นเส้นตรงเวลามองจากด้านข้างปลายจมูก ปากค่อยๆ ขยายใหญ่ขึ้นรับกับขนาดของกะโหลกศีรษะลักษณะรูปทรงคล้ายลิ่มแลดูแข็งแกร่ง หนังย่นบริเวณหน้าผากอนุโลมให้มีได้ แต่ลักษณะของใบหน้าที่สวยงาม หนังบริเวณใบหน้าควรจะเรียบตึง
ฟัน : ต้องขบกันได้แนบสนิทเหมือนกรรไกร โดยฟันด้านหน้าแถวบนขบเกยอยู่ด้านนอก ซึ่งลักษณะของฟันสำหรับสุนัขพันธุ์โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เนื่องจากเป็นสุนัขที่มีหน้าที่ในการเก็บหรือคาบเหยื่อ ดังนั้นอำนาจในการขบกัดจึงเป็นเรื่องสำคัญ หากสุนัขมีฟันหน้าชุดบนและชุดล่างขบเสมอกันพอดีเหมือนประตูลิฟท์ถือว่าใช้ ไม่ได้ แต่ยังพออนุโลมผ่อนผันให้ได้ เว้นแต่ฟันหน้าชุดล่างขบเกยอยู่ด้านนอก หรือฟันหน้าชุดบนและล่างขบเกยไม่สนิทกันถือเป็นข้อบกพร่องร้ายแรง ถ้าฟันมีคราบหินปูนเกาะ ฟันผุ หรือฟันมีลักษณะเว้าแหว่งถือเป็นข้อบกพร่องร้ายแรงเช่นกัน
จมูก : จะต้องเป็นสีดำหรือสีน้ำตาล ส่วนจะเข้มหรืออ่อนก็ขึ้นอยู่กับสีขน แต่ถ้าจมูกเป็นสีชมพูถือเป็นข้อบกพร่องร้ายแรง
หู : หูควรสั้นพอประมาณ ใบหูมีลักษณะห้อยปกลงแนบกับส่วนแก้ม รูปทรงค่อนไปทางรูปสามเหลี่ยม ปลายมน เวลาดึงใบหูไปด้านหน้าความยาวของใบหู หูควรปกคลุมลูกตาได้พอดี แต่ถ้าหากฐานใบหูตั้งอยู่ในตำแหน่งต่ำเกินไป หรือหูมีลักษณะเหมือนสุนัขในกลุ่มฮาวน์ หรือดัชชุน ถือเป็นข้อบกพร่อง
ลำคอ : ควรยาวพอประมาณ ลำคอควรตั้งบนหัวไหล่ แลดูมั่นคงกล้ามเนื้อแลเห็นเด่นชัด ขนบริเวณรอบคอห้ามมีการตกแต่ง คอต้องไม่มีเหนียงยื่นโผล่ออกมา
ลำตัว : โครงสร้างลำตัวกระชับได้สัดส่วน อกลึกและกว้าง ความกว้างของอกอย่างน้อยควรมีขนาดพอๆ กับ ฝ่ามือของผู้ชายวางทาบเสมอพอดี ส่วนความลึกของอกควรลึกเสมอข้อศอกขาหน้า กระดูกซี่โครงควรโค้งได้รูปแข็งแรง โดยส่วนแผ่นหลังจะแลดูหนากว่าใต้ท้อง ลำตัวเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ มีความลึกและหนาแลดูบึกบึน แผ่นหลังเรียบตรง โดยมีลักษณะลาดเทจากหัวไหล่ ไปทางบั้นท้ายเล็กน้อยไม่ว่าจะเป็นเวลายืนนิ่งๆ หรือกำลังเคลื่อนไหว โกลเด้น รีทรีฟเวอร์มีหน้าอกเล็กแคบ อกตื้น เส้นหลังแอ่นหรือลาดเทมากเกินไป หรือก้นโด่ง ลำตัวบอบบางเกินไป เวลาเคลื่อนไหวเส้นหลังแกว่ง แลดูขาดความแข็งแกร่งล้วนเป็นข้อบกพร่อง
อุ้งเท้า : มีขนาดปานกลาง เป็นรูปทรงกลม อุ้งเท้ากระชับ นิ้งเท้าไม่กางแบะออกเหมือนตีนเป็ด ขนบริเวณใต้อุ้งเท้าควรได้รับการขลิบออก เพื่อช่วยให้การยึดเกาะมั่นคงยิ่งขึ้น นิ้วติ่งขาหน้าควรกำจัดออกให้หมด แต่โดยปกติจะไม่ค่อยปรากฏนิ้งติ่งให้เห็น โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ เวอร์ที่มีอุ้งเท้าแบะหรืออุ้งเท้าแหลมคล้ายอุ้งเท้าของกระต่าย ถือเป็นข้อบกพร่อง
หาง : ควรตั้งอยู่ในตำแหน่งสูงสุดต่อจากเส้นหลัง หางมีขนาดใหญ่โดยเฉพาะบริเวณโคนหางควรจะมีกล้ามเนื้อ ปกติหางจะมีลักษณะห้อยลงต่ำโค้งได้รูปกับสะโพก ความยาวของหางพอๆ กับมุมข้อศอกขาหลัง ในยามที่สุนัขที่ดีใจหางจะโบกสะบัดไปมา บางครั้งอาจงอม้วนขึ้นสูงเหนือระดับแผ่นหลัง
ลำตัวหน้า : เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ มีขนาดเหมาะสมรับกับลำตัวส่วนหลังขณะที่เดินหรือวิ่ง การก้าวย่างเป็นไปอย่างอิสระ การก้างย่างของขาอยู่ในแนวเดียวกับรัศมีของหัวไหล่ กระดูกขามีขนาดค่อนข้างใหญ่และเหยียดตรง กระดูกข้อเท้าสั้นและแข็งแรง มีความลาดเอียงเพียงเล็กน้อย
ลำตัวหลัง : หนาและแข็งแรง เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ บั้นท้ายมีลักษณะลาดเทเล็กน้อย กระดูกขาท่อนบนทอดไปทางด้านหลัง ส่วนกระดูกขาท่อนล่างเหยียดตรงทำมุมฉากกับพื้น โดยขาท่อนล่าง(แข้ง)ยิ่งมีขนาดสั้นเท่าไหร่ยิ่งดี
ขน : ขนดกแน่น สามารถปกป้องน้ำได้เป็นอย่างดี ขนมี 2 ชั้น ขนชั้นนอกจะยาวและมีลักษณะค่อนข้างแข็ง แต่ไม่ถึงกับหยาบกระด้าง เส้นขนมีความยืดหยุ่นในตัว ถ้าหากขนมีลักษณะเส้นเล็กหรือไม่ดกแน่นถือเป็นข้อบกพร่อง ลักษณะของขนที่ถูกต้องจะต้องขึ้นแนบติดลำตัว ส่วนเส้นขนจะเหยียดตรงหรือหยักศกเล็กน้อยไม่เป็นข้อบกพร่อง สำหรับขนบริเวณด้านหลังของขาและใต้ท้องจะมีลักษณะค่อนข้างอ่อนนุ่มกว่าขนตาม ลำตัว โดยเฉพาะขนที่บริเวณใต้คอ ด้านหลังของต้นขาหลัง และขนใต้หาง จะมีลักษณะอ่อนนุ่มเป็นพิเศษ ส่วนขนบริเวณศีรษะ ด้านหน้าของขา(หน้าแข้ง) และเท้าจะมีลักษณะสั้นและเรียบ โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ที่มีเส้นขนยาวจนเกินไป ขนฟูเป็นกระเซิงไม่แนบติดกับลำตัว หรือมีขนเบาบางไม่ดกแน่น ขนเส้นเล็กล้วนถือเป็นข้อบกพร่อง การตัดแต่งขนจะตัดเฉพาะอุ้งเท้าเท่านั้น
สี : สีต้องเป็นสีน้ำตาลออกทอง ส่วนจะมีสีเข้มอ่อนไม่มีปัญหา ขนตามใบหน้าและลำตัวอาจจะมีเหลือบเทาหรือขาวก็ได้ แต่ถ้าเป็นรอยแต้มด่างสีขาว หรือมีขนสีขาวขึ้นแซมถือเป็นข้อบกพร่อง ยกเว้นโกลเด้น รีทรีฟเวอร์ที่มีขนสีทองอ่อน ซึ่งมีสีจืดหรือจางมากๆ และสีขาวด่างที่ปรากฏแลดูกลมกลืนกับสีขน ก็ถือเป็นข้ออนุโลม และถ้าหากพื้นที่ของสีขนส่วนใหญ่มีสีซีดจางเกินไป หรือเข้มมากเกินไปก็ถือว่าเป็นข้อบกพร่อง พูดง่ายๆ ก็คือ ถามีขนออกไปทางโทนสีครีมอ่อนๆ หรือสีน้ำตาลไหม้ ขนส่วนนี้จะต้องมีพื้นที่เป็นเพียงส่วนน้อยของขนทั้งหมด คือจะต้องมีโทนสีเข้มกว่าหรืออ่อนกว่ามาช่วยเสริม และสีขนส่วนที่จะมาช่วยเสริมต้องครอบคลุมพื้นที่ได้มากกว่า โกลเด้น รีทรีฟเวอร์บางสายพันธุ์ขณะที่ยังเป็นลูกสุนัขอาจจะมีสีซีดจาง แต่เมื่อโตขึ้นสีก็จะเข้มขึ้นโดยธรรมชาติ สำหรับโกลเด้น รีทรีฟเวอร์ที่มีสีอ่อน นอกเหนือจากที่กล่าวมาล้วนถือเป็นข้อบกพร่องร้ายแรง
การเคลื่อนไหว : การก้าวย่างเป็นไปอย่างอิสระ แลดูนุ่มนวลแต่ทรงพลังและสง่างาม เวลาที่วิ่ง ระยะการย่างก้าวของขาหน้าและขาหลังจะต้องมาบรรจบกันที่กึ่งกลางลำตัว เวลาเดินหรือวิ่งขาต้องไม่แกว่งหรือปัด ซึ่งในการประกวดการเคลื่อนไหวของโกลเด้น รีทรีฟเวอร์ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก
ขนาด : เพศผู้ควรมีความสูงระหว่าง 23-24 นิ้ว(ความสูงวัดที่หัวไหล่ขาหน้า) ส่วนเพศเมียควรมีความสูงอยู่ในช่วงระหว่าง 21-22 นิ้ว หากความสูงน้อยกว่าหรือมากกว่ามาตรฐานที่กำหนดไม่เกิน 1 นิ้ว ถือเป็นข้ออนุโลม แต่ถ้าสูงหรือเตี้ยกว่าเกิน 1 นิ้ว จากเกณฑ์มาตรฐานถือเป็นข้อบกพร่องร้ายแรงมาก สำหรับความยาวของลำตัวโดยวัดจากหน้าอกถึงบั้นท้าย ควรมีสัดส่วนความยาวมากกว่าความสูงเล็กน้อย คือ สัดส่วน 12 :11 ส่วนน้ำหนักของสุนัขเพศผู้ควรอยู่ในช่วงระหว่าง 65-75 ปอนด์ สำหรับเพศเมีย 55-56 ปอนด์
อารมณ์ : ควรมีความเป็นมิตรกับทุกๆ คน ไม่มีนิสัยขี้หวาดระแวงและดูน่าเชื่อไว้วางใจได้ ไม่มีนิสัยก้าวร้าวดุร้าย แต่ก็ไม่ขี้ขลาดตาขาวด้วย
โรคที่พบบ่อยในสุนัขโกลเด้นรีทรีฟเวอร์
1. โรคผิวหนัง
สุนัขขนยาวอย่างโกลเด้นรีทรีฟเวอร์ คงหนีไม่พ้นต้องมีโรคทางผิวหนังกับเขาเหมือนกัน ด้วยนิสัยที่ลุย ๆ ชอบคลุกดิน เล่นน้ำ ประกอบกับภูมิอากาศร้อนชื้นในบ้านเรา หากเจ้าของละเลยเรื่องการดูแลรักษาความสะอาด ปล่อยไว้นานวันเข้า ก็อาจทำให้เจ้าโกลเด้นฯ ของเรา ป่วยเป็นโรคผิวหนังได้ เห็นน้องหมาโกลเด้นฯ ตัวใหญ่แรงเยอะอย่างนี้ ความจริงแล้วกลับเป็นสุนัขที่มีผิวหนังที่บอบบางและแพ้ง่าย ซึ่งโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในน้องหมาพันธุ์นี้ ก็ได้แก่
ภูมิแพ้ละอองอากาศหรือภูมิแพ้จากการสูดดม เป็นภาวะภูมิไวเกินประเภทที่ I ซึ่งเกิดจากการได้รับสารก่อภูมิแพ้ (allergens) ผ่านการสูดดมเอาละอองในอากาศหรือสิ่งแวดล้อมเข้าไป นอกจากนี้ยังรวมถึงการสัมผัสผ่านผิวหนังหรือการกินเข้าไปด้วย ซึ่งสารก่อภูมิแพ้ดังกล่าวก็มีมากมายหลายอย่าง เช่นละอองเกสร ไรฝุ่น ขนสัตว์ ซากแมลง สปอร์ของเชื้อรา สะเก็ดผิวหนังของคนและสัตว์ ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอนุภาคเล็ก จนบางครั้งเราก็อาจมองไม่เห็น
ซึ่งน้องหมาที่เป็นจะแสดงอาการคัน โดยเฉพาะบริเวณฝ่าเท้า อุ้งเท้า ใต้คาง รอบปาก รอบตา ใบหู รักแร้ และหน้าท้อง ตลอดจนแสดงอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีรอยแดง ขนร่วง มีสะเก็ด รังแค ผิวหนังแห้งหนาตัว ในรายที่มีการติดเชื้อแทรกซ้อน เช่น เชื้อยีสต์ เชื้อแบคทีเรีย ฯลฯ ก็อาจจะพบผิวหนังอักเสบมันเยิ้ม เกิดเป็น Hot spots มีกลิ่นตัว หูอักเสบ เยื่อบุตาอักเสบ ริมฝีปากอักเสบ (cheilitis) และเกิดผิวหนังอักเสบเป็นหนองตามมาได้ด้วย
โรคช่องหูอักเสบ เป็นอีกโรคสำคัญมากในน้องหมาพันธุ์โกลเด้นฯ ส่วนหนึ่งเกิดจากสาเหตุที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ (atopic dermatitis) อยู่แล้ว จึงมักทำให้เกิดโรคนี้อยู่บ่อย ๆ ส่วนสาเหตุรองก็เกิดจากการที่เราละเลย การดูแลทำความสะอาดช่องหูอย่างถูกวิธีต่อเนื่องเป็นประจำ ทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อยีสต์ตามมา ยิ่งในรายที่มีปัจจัยโน้มนำอย่างการมีขนในรูหู รูหูมีลักษณะตีบแคบ ความชื้นในรูหูที่มีมากเกินไปด้วยแล้ว ยิ่งทำให้เกิดโรคนี้ง่ายกว่าสุนัขตัวอื่น ๆ ยิ่งเข้าไปใหญ่
2. โรคระบบต่อมไร้ท่อ
ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine gland system) เป็นต่อมที่มีการสร้างสารที่ออกฤทธิ์ควบคุมการทำงานในร่างกาย ซึ่งสารที่สร้างออกมานี้ จะถูกลำเลียงผ่านกระแสเลือดไปออกยังอวัยวะเป้าหมายที่จำเพาะ โดยไม่มีเส้นทางลำเลี้ยงเป็นท่อของตัวเอง จึงเรียกระบบนี้ว่า ระบบต่อมไร้ท่อ ซึ่งสารที่ต่อมสร้างก็ได้แก่ พวกฮอร์โมนต่าง ๆ นั่นเอง ในร่างกายของน้องหมาจะมีต่อมไร้ต่ออยู่หลายแห่ง และแต่ละแห่งก็สร้างฮอร์โมนที่ต่างกันไป
ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ (Hypothyroidism) ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่บริเวณลำคอ มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอกซิน (T4) และ ไตรไอโอโดไทโรนีน (T3) ไว้ช่วยในการควบคุมการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย จากการเก็บข้อมูลของ Orthopedic Foundation for Animals หรือ O.F.A. พบว่าน้องหมาพันธุ์โกลเด้นฯ ป่วยเป็นโรคภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ ประมาณ 4.9% แต่ในการสำรวจของสมาคม Golden Retriever Club of America (GRCA) ในปี ค.ศ. 1998-1999 กลับพบสุนัขพันธุ์โกลเด้นป่วยด้วยโรคนี้สูงถึง 1 ใน 4 เลยทีเดียว ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของตัวต่อมไทรอยด์เอง (Primary Hypothyroidism)
บางรายมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป เช่น เชื่องช้า เซื่องซึม อ่อนแรง เหนื่อยง่าย และอยากนอนมากกว่าปกติ แต่บางรายอาจก้าวร้าวมากขึ้น เนื่องจากการควบคุมสมดุลของสารซีโรโทนิน (serotonin) เสียไป ซีโรโทนินเป็นสารสื่อประสาท มีบทบาทควบคุมอารมณ์ ความโกรธและความก้าวร้าว หากซีโรโทนินในร่างกายน้อย ย่อมส่งผลทำให้น้องหมาก้าวร้าวขึ้นได้
3. โรคมะเร็ง
โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ ของน้องหมาพันธุ์โกลเด้นรีทรีฟเวอร์เลยก็ว่าได้ จากการสำรวจของสมาคม Golden Retriever Club of America (GRCA) ในปี ค.ศ. 1998-1999 พบว่า ชนิดของมะเร็งที่พบมากที่สุด 4 ลำดับแรกในสุนัขพันธุ์โกลเด้นฯ คือ มะเร็งในหลอดเลือด (Hemangiosarcoma) มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphosarcoma) มะเร็งผิวหนังชนิด Mast cell tumor และมะเร็งกระดูกชนิด osteosarcoma ตามลำดับ แต่ในสหราชอาณาจักร กลับพบว่าน้องหมาพันธุ์โกลเด้นฯ เป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) มากที่สุด ซึ่งแนวโน้มการเป็นโรคมะเร็งของน้องหมาพันธุ์นี้นั้น พบว่ามีอุบัติการณ์เพิ่มมากขึ้นทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นในสหรัฐอเมริกา แคนาคา สหราชอาณาจักร เดนมาร์ก และออสเตรเลีย โดยช่วงอายุที่พบบ่อยที่สุด คืออายุ 8-12 ปี เรามาทำความรู้จักกับโรคมะเร็งที่พบบ่อยในน้องหมาพันธุ์โกลเด้นฯ ทีละชนิดกันเลยดีกว่า
มะเร็งชนิดนี้พบได้ในสุนัขพันธุ์โกลเด้นรีทรีฟเวอร์ถึง 18.7% หรือ ประมาณ 1 ใน 5 เลยทีเดียว โดยอายุเฉลี่ยที่พบ คือ ประมาณ 10.3 (+/- 2.3) ปี และเนื่องด้วยเป็นมะเร็งที่เกิดกับเซลล์ของหลอดเลือด (endothelial cells) จึงทำให้สามารถพบได้ในอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย โดยอวัยวะที่พบได้บ่อยที่สุด คือ ม้าม นอกจากนี้ยังพบได้ใน หัวใจ ตับ ปอด สมอง และผิวหนัง ซึ่งเรียกว่า cutaneous hemangiosarcoma แต่หากพบในอวัยวะภายในร่างกาย เราจะเรียกว่า visceral hemangiosarcoma
น้องหมาที่เป็นมะเร็งชนิดนี้ส่วนใหญ่จะเกิดกับอวัยวะภายในร่างกาย เจ้าของจึงมักไม่ทราบถึงความผิดปกติด้วยตาเปล่า สุนัขบางรายอาจมีช่องท้องโตขึ้นหรือน้ำหนักตัวลดลงเท่านั้น จนเมื่อก้อนมะเร็งมีขนาดโตมากขึ้น จนไปกดเบียดอวัยวะอื่น ๆ รบกวนการใช้ชีวิต ทำให้ร่างกายไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ สุนัขจึงแสดงอาการซึม ไม่กินอาหาร อ่อนแรง เหงือกซีด หายใจลำบาก บางรายก้อนมะเร็งใหญ่มากจนแตก อวัยวะเกิดการฉีกขาด พบเลือดออกในร่างกาย และอาจเสียชีวิตได้แบบเฉียบพลันได้
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphosarcoma หรือ Lymphoma)
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองเป็นมะเร็งที่พบได้ทั้งในคนและในสัตว์หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นหมาหรือแมว ซึ่งในน้องหมาพันธุ์โกลเด้นฯ พบมะเร็งชนิดนี้ 11.5% (ประมาณ 1 ใน 8) โดยอายุเฉลี่ยที่พบ คือ ประมาณ 8.5 (+/- 2.9) ปี เจ้าของจะสังเกตพบว่า น้องหมาจะมีการบวมโตของต่อมน้ำเหลืองในตำแหน่งต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ที่พบได้บ่อยก็อย่างเช่น ต่อมน้ำเหลืองใต้กรามล่าง รักแร้ อก โคนขาหนีบ ต้นขาหลังด้านท้าย ช่องท้อง เป็นต้น ในรายที่เป็นระดับรุนแรง อาจพบการแพร่กระจายไปได้ทั่วตัว และเข้าไปยังอวัยวะภายในอื่น ๆ เช่น ตับ ม้าม หรือไขกระดูกได้ด้วย
มะเร็งผิวหนังชนิด Mast cell tumor พบได้ในน้องหมาพันธุ์โกลเด้นรีทรีฟเวอร์ 8.2% หรือประมาณ 1 ใน 13 โดยอายุเฉลี่ยที่พบ คือ ประมาณ 10.5 (+/- 2.1) ปี สำหรับมะเร็งชนิดนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของ mast cell ซึ่งปกติจะพบได้ในขบวนการแพ้ต่าง ๆ ของร่างกาย พัฒนาจนกลายเป็นเซลล์มะเร็ง เจ้าของจะสังเกตพบว่า น้องหมาจะมีเม็ดตุ่มเล็ก ๆ ตามผิวหนัง ลักษณะยืดหยุ่นไม่แข็งเป็นไต แล้วต่อมาก้อนดังกล่าว พัฒนาโตขึ้นอย่างรวดเร็วกลายเป็นก้อนเนื้องอกสีแดง ๆ และเกิดการอักเสบขึ้น น้องหมาจะแสดงอาการคันบริเวณดังกล่าวรุนแรง เนื่องจากเกิดการหลั่ง Histamine ออกมา
มะเร็งกระดูกชนิด osteosarcoma
มะเร็งกระดูกชนิด osteosarcoma ส่วนมากพบในสุนัขพันธุ์ใหญ่ อาทิเช่น ร๊อตไวเลอร์ เซนต์ เบอร์นาร์ด เกรทเดน โดเบอร์แมน พินเชอร์ ไอริส เซตเตอร์ และเยอรมัน เชฟเพิร์ด ส่วนในน้องหมาพันธุ์โกลเด้นฯ นั้นพบอยู่ 5.2% (ประมาณ 1 ใน 20) โดยอายุเฉลี่ยที่พบ คือ ประมาณ 9.7 (+/- 3.1) ปี ซึ่งมะเร็งกระดูกที่เจ้าของส่วนใหญ่สังเกตพบ มักเป็นตำแหน่งกระดูกระยางค์ (ขา) ทำให้มีการสลาย และ/หรือสร้างกระดูกมากไป จนเนื้อเยื่อรอบข้างเกิดการบวม ซึ่งทำให้น้องเจ็บปวดทรมานและอาจทำให้กระดูกเกิดการหักตามมาได้ ที่สำคัญมะเร็งกระดูกยังสามารถแพร่กระจาย โดยผ่านกระแสเลือดไปยัง ปอด ไต ตับ ม้าม ฯลฯ ได้ด้วย
ภาวะภูมิแพ้ละอองอากาศ (Atopy, Atopic dermatitis)
การป้องกันนอกจะต้องหมั่นดูแลรักษาความสะอาดแล้วอย่างเต็มที่แล้ว การจัดการทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัย ระมัดระวังการพาออกไปนอกบ้าน เพื่อลดการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ อาบน้ำโดยเลือกใช้แชมพูสูตร hypoallergenic หรือสูตรที่คุณหมอแนะนำเป็นประจำ เพื่อชำระล้างสารก่อภูมิแพ้ที่อาจอยู่บนตัวออก และช่วยกำจัดสิ่งสกปรกหรือเชื้อก่อโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ตลอดจนปรับสูตรอาหารหรือเสริมสารอาหารที่จำเป็นต่อผิวหนังให้น้องหมา อย่างเช่น โอเมก้า-3 (eicosapentaenoic acid) โอเมก้า -6 (Linoleic acid) เป็นต้น ก็จะสามารถช่วยน้องหมาได้ แต่สำหรับในรายที่คันมาก ๆ แนะนำให้พาไปตรวจก่อน เพื่อจะได้รักษาอย่างถูกต้องต่อไป
โรคช่องหูอักเสบ (Otitis)
ซึ่งน้องหมาที่เป็นจะแสดงอาการคันหู บางตัวเอาขาหลังมาเกาหู เอาหูถูไถกับพื้นหรือฝาหนัง สะบัดหัวให้เราเห็นบ่อย ๆ บางตัวสะบัดหัวและเกาหูมากจนเกินไป เป็นเหตุให้เส้นเลือดในใบหูแตก ใบหูบวมโต เพราะเกิดเลือดคั่งข้างใน เรียกว่า aural hematoma บางรายมีกลิ่นหูเหม็นรุนแรง ใบหูด้านในอักเสบแดง หนาตัว และมีสะเก็ด รังแค มันเยิ้ม เกิดหูน้ำหนวก ซึ่งหากเราใช้มือบีบบริเวณฐานใบหูของน้องหมา เราอาจจะได้ยินเสียงคล้ายน้ำกระฉอกไปมาในรูหู ซึ่งน้องหมาบางตัวอาจร้อง เพราะเจ็บปวดจากการอักเสบอยู่ด้วยก็ได้
ปัญหาของระบบต่อมไร้ท่อที่พบในน้องหมาส่วนใหญ่ก็คือ การสร้างฮอร์โมนออกมามากเกินไปหรือน้อยเกินไป ทำให้ระบบการทำงานของร่างกายเกิดปัญหา ซึ่งโรคระบบต่อมไร้ท่อที่มักพบในน้องหมาพันธุ์โกลเด้นรีทรีฟเวอร์ก็ ได้แก่
น้องหมาที่เป็นจะแสดงอาการได้หลากหลาย เช่น พบว่าน้องหมาจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น (อ้วนขึ้น) ทั้ง ๆ ที่กินอาหารตามปกติ มีปัญหาที่ผิวหนังและเส้นขน โดยพบว่าน้องหมามีขนร่วง โดยร่วงแบบสมมาตร (ลำตัวซ้าย-ขวาขนร่วงเท่ากัน) มีขนที่หางร่วงหรือบางลง จนมีลักษณะคล้ายกับหางของหนูบ้าน ผิวหนังบริเวณใบหน้า หน้าผาก หนาตัว เห็นเป็นรอยย่น บริเวณเปลือกตาบนย้อยลงมา เราเรียกลักษณะหน้าตาเช่นนี้ว่า tragic facial expression หรือ tragic face syndrome
น้องหมาที่ป่วยเป็นภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ จะต้องทำการรักษาด้วยเสริมฮอร์โมนไทรอกซินเข้าไป โดยคุณหมออาจจะให้ป้อนวันละ 1-2 ครั้ง แล้วแต่กรณี แต่ยาจะออกฤทธิ์ดีเมื่อเจ้าของทำการป้อนให้ในขณะที่ท้องว่าง จึงแนะนำให้ป้อนก่อนอาหารอย่างน้อย 30 นาที ซึ่งถ้ามีการตอบสนองต่อการรักษาดี อาการน้องหมาจะค่อย ๆ ดีขึ้นภายใน 1-2 เดือน จากนั้นก็จึงมีการปรับลดระดับยาให้เหมาะสมต่อไปครับ เพื่อน ๆ ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ในบทความ น้องหมาของเราป่วยเป็นภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำหรือเปล่า
มะเร็งในหลอดเลือด (Hemangiosarcoma หรือ HSA)
โชคร้ายที่น้องหมาเมื่อเป็นมะเร็งชนิดนี้ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถใช้การรักษาโดยการผ่าตัด ให้เคมีบำบัด ตลอดจนการจัดการรักษาทางเลือกต่าง ๆ เช่น โภชนาการบำบัด และสมุนไพรต่าง ๆ ร่วมกับการให้การรักษาแบบประคับประคองอาการ สามารถช่วยยืดอายุได้ประมาณ 3-6 เดือน (หรือมากกว่า) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของอวัยวะที่เกิดด้วย โดยพบว่าในรายที่พบมะเร็งที่ผิวหนัง พยากรณ์โรคจะดีกว่าพบในอวัยวะอื่น ๆ ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุด คือ การพาน้องหมาเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างละเอียดเป็นประจำได้ตั้งแต่อายุ 6 ปีขึ้นไป ซึงหากพบตั้งแต่เนิ่น ๆ จะได้รับทำการรักษาเพื่อลดการแพร่กระจาย อันจะเป็นการช่วยยืดชีวิตน้องหมาให้ยาวนานมากขึ้น
การรักษา มีทั้งการผ่าตัด (เฉพาะในรายที่เป็นแบบจำกัด ไม่พบการแพร่กระจาย) และการรักษาโดยใช้เคมีบำบัด ซึ่งเป็นวิธีที่คุณหมอส่วนใหญ่มักเลือกใช้ โดยมีอยู่หลายรูปแบบด้วยกัน ทั้งยาฉีดเข้าเส้นเลือด ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง หรือยากิน ซึ่งอาจใช้ระยะเวลาการรักษาแตกต่างกันไป เพื่อจำกัดการแพร่กระจายและลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำใหม่ ยกเว้นในรายที่เป็นระยะสุดท้าย (ระยะที่ 5) ซึ่งมีการแพร่เข้าสู่ไขกระดูกและระบบประสาทแล้ว จะไม่สามารถกำจัดได้หมดแล้ว แต่การรักษาจะสามารถช่วยยืดชีวิตน้องหมาออกไปได้ประมาณ 3-12 เดือน
มะเร็งผิวหนังชนิด Mast cell tumor
เมื่อน้องหมาได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งชนิดนี้แล้ว จะต้องรีบทำการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออก เพื่อลดการแพร่กระจาย บางรายคุณหมออาจพิจารณาให้การรักษาทางเคมีบำบัดร่วมด้วย ในรายที่พบตั้งแต่ก้อนเล็ก ๆ ไม่พบการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองหรือปอด การพยากรณ์โรคจะดีกว่า แต่เจ้าของก็ควรพาน้องหมาเข้ารับการตรวจเป็นประจำ เพื่อเฝ้าระวังการกลับมาเป็นซ้ำอีกในอนาคต
เมื่อตรวจพบว่าเป็นมะเร็งกระดูก ส่วนใหญ่มักจะแนะนำให้ทำการผ่าตัดขาข้างที่เป็นออก เพื่อช่วยลดความเจ็บปวด ทรมาน และผลที่จะเกิดกระดูกหักตามมา แล้วอาจทำการรักษาต่อร่วมกับวิธีทางเคมีบำบัด ฉายรังสี หรือวิธี immunotherapy ซึ่งสามารถช่วยยืดอายุน้องหมาออกไปได้ประมาณ 3-6 เดือนหรือมากกว่า ซึ่งพบว่า 35-50% ของสุนัขที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดร่วมกับเคมีบำบัด สามารถมีชีวิตอยู่ได้ถึง 1 ปี แต่หากไม่ได้รับการรักษาใด ๆ เลย น้องหมาจะเสียชีวิตใน 2-4 เดือนโดยประมาณ